“มาตรา 591 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 591” คืออะไร?
“มาตรา 591” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 591 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าความชำรุดบกพร่องหรือความชักช้าในการที่ทำนั้นเกิดขึ้นเพราะสภาพแห่งสัมภาระซึ่งผู้ว่าจ้างส่งให้ก็ดี เพราะคำสั่งของผู้ว่าจ้างก็ดี ท่านว่าผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิด เว้นแต่จะได้รู้อยู่แล้วว่าสัมภาระนั้นไม่เหมาะหรือว่าคำสั่งนั้นไม่ถูกต้องและมิได้บอกกล่าวตักเตือน “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 591” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 591 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2540
จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเข้าซ่อมแซมอาคารที่ชำรุด เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามที่โจทก์เรียกร้อง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172เดิม อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเสร็จและส่งมอบให้โจทก์แล้วโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยที่ 1 ทำชำรุดบกพร่อง หาใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารไม่เสร็จแล้วโจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาก่อน
จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงินไม่เกิน 84,400 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนในทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนดังนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย ส่วนข้อตกลงเรื่องการเรียกหลักประกันใหม่ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์
จำเลยร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ.มาตรา1077 ประกอบมาตรา 1087 แต่ตามคำขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โจทก์ขอให้ร่วมรับผิดเพียงในยอดเงินที่หักเงิน 84,400 บาท ที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือค้ำประกันออก ดังนี้ต้องนำเงิน 84,400 บาท หักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมดก่อน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 172, ม. 587, ม. 591
ป.วิ.พ. ม. 55
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2510
โจทก์จ้างจำเลยให้เจาะน้ำบาดาลให้โจทก์ 1 บ่อ ตามสัญญาสัมภาระที่ต้องใช้ก็คือท่อกรองน้ำ ท่อน้ำ เครื่องปั๊มน้ำฯลฯ จึงถือได้ว่าการติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำเป็นส่วนหนึ่งของการเจาะบ่อน้ำบาดาลปั๊มน้ำฝ่ายผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสิ่งของเหล่านี้ฝ่ายใดจะเป็นผู้จัดหามาก็ตาม ต้องถือว่าเป็นสัมภาระใช้ในการเจาะบ่อน้ำบาดาลอยู่นั่นเองหากการงานที่ทำเกิดการบกพร่องสูบน้ำไม่ได้ปริมาณตามสัญญา เป็นเพราะ ความบกพร่องของปั๊มน้ำที่โจทก์จัดหามา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 591, ม. 600, ม. 601
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2510
โจทก์จ้างจำเลยให้เจาะน้ำบาดาลให้โจทก์ 1 บ่อ ตามสัญญาสัมภาระที่ต้องใช้ก็คือท่อกรองน้ำ ท่อน้ำ เครื่องปั๊มน้ำ ฯลฯ จึงถือได้ว่าการติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำเป็นส่วนหนึ่งของการเจาะบ่อน้ำบาดาล ปั๊มน้ำฝ่ายผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหา สิ่งของเหล่านี้ฝ่ายใดจะเป็นผู้จัดหามาก็ตามต้องถือว่าเป็นสัมภาระใช้ในการเจาะบ่อน้ำบาดาลอยู่นั่นเอง หากการงานที่ทำเกิดการบกพร่องสูบน้ำไม่ได้ปริมาณตามสัญญา เป็นเพราะความบกพร่องของปั๊มน้ำที่โจทก์จัดหามา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 591, ม. 600, ม. 601