Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 587 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 587” คืออะไร? 


“มาตรา 587” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 587 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น “

 

อ่านบทความ : สัญญาจ้างทำของคืออะไร แตกต่างจากสัญญาทั่วไปอย่างไร คลิกที่นี่ !

อ่านคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "จ้างทำของ" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 587” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 587 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2565
ใบสั่งจ้างมีข้อความในตอนต้นของกระดาษว่าคือใบสั่งจ้าง และเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความสำคัญเพียงว่า บริษัท ว. ผู้สั่งจ้าง โจทก์ผู้รับจ้าง วันที่ เลขที่ใบสั่งจ้าง รหัสสินค้า รายการสินค้า จำนวน ราคาต่อหน่วย และจำนวนเงิน แม้จะมีการลงชื่อผู้ว่าจ้างและโจทก์ผู้รับจ้างด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อสัญญาจ้างทำของนั้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือมิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ประกอบกับลักษณะในการประกอบกิจการของโจทก์ที่จะรอคำสั่งจ้างจากผู้ว่าจ้างเป็นลักษณะรายครั้ง เมื่อผู้ว่าจ้างต้องการสั่งจ้างผลิตครั้งใดก็จะมีใบสั่งจ้างทีละครั้ง ทำให้ช่วงเวลาที่โจทก์ผลิตสินค้าเดือนมกราคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 86 ฉบับ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีใบสั่งจ้าง 18 ฉบับ เดือนมีนาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 70 ฉบับ เดือนเมษายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 36 ฉบับ เดือนพฤษภาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 7 ฉบับ เดือนมิถุนายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 9 ฉบับ เดือนกรกฎาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 8 ฉบับ เดือนสิงหาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 11 ฉบับ เดือนกันยายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 9 ฉบับ เดือนตุลาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 10 ฉบับ และเดือนพฤศจิกายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 6 ฉบับ อันแสดงให้เห็นว่าใบสั่งจ้างดังกล่าวเป็นเพียงหลักฐานแห่งการทำนิติกรรม ไม่ใช่หนังสือสัญญาจ้างทำของอันจะต้องเสียอากรตามลักษณะแห่งตราสาร 4 บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 อากรแสตมป์แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด และสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีเท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 587
ป.รัษฎากร ม. 103, ม. 104


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2565
ตาม พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การให้บริการรักษาความปลอดภัยต้องทำสัญญาเป็นหนังสือระหว่างบริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้...” อันมีความหมายว่า ในการให้บริการรักษาความปลอดภัย บริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้างต้องทำสัญญาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจะถือว่ามีการทำสัญญาเป็นหนังสือไม่ได้ และวรรคสองบัญญัติว่า “ให้การให้บริการรักษาความปลอดภัยที่ไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือหรือมีรายการไม่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง เป็นโมฆะ” ฉะนั้น เมื่อสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยเอกสารท้ายคำฟ้องมีเพียงโจทก์ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับจ้างฝ่ายเดียว ส่วนจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ว่าจ้าง ต้องถือว่าการให้บริการรักษาความปลอดภัยตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จึงเป็นโมฆะตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้การให้บริการรักษาความปลอดภัยของโจทก์แก่จำเลยจะเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 มิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ แต่ พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยซึ่งมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน และส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วว่า สัญญารักษาความปลอดภัยต้องทำเป็นหนังสือระหว่างบริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ สัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 จึงตกเป็นโมฆะ จำเลยต้องคืนทรัพย์ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ และเมื่อการรักษาความปลอดภัยมีลักษณะเป็นการให้บริการอย่างหนึ่งย่อมอยู่ในความหมายของคำว่าทรัพย์สิ่งใดที่สามารถคืนกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ด้วย โดยการคืนทรัพย์สินในกรณีนี้สามารถทำได้โดยกำหนดให้จำเลยใช้เงินเท่ากับบริการที่จำเลยได้รับจากโจทก์ และเมื่อหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ด้วย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 172 วรรคสอง, ม. 406, ม. 587


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7118/2561
โจทก์ร่างสัญญาว่าจ้างให้จำเลยลงลายมือชื่อและจำเลยขอแก้ไขรายละเอียดก่อน แต่จำเลยก็ให้โจทก์เข้าทำงานตามที่ตกลงกันแล้วโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้มีการพูดถึงเงื่อนไขและข้อตกลงในสัญญาที่ยังตกลงในสัญญาที่ยังตกลงกันไม่ได้อีก เหตุที่มีการโต้เถียงเรื่องสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเกิดจากการที่โจทก์ทวงถามค่าจ้างจากจำเลย จำเลยจึงอ้างระเบียบของจำเลยที่ต้องทำสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาโจทก์และจำเลยก็ไม่ได้ลงชื่อในสัญญาจ้างแต่โจทก์ก็ยอมรับปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้าง ส่วนจำเลยได้ถือเอาประโยชน์จากสัญญาในฐานะผู้ว่าจ้างและมีการชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์บางส่วนแล้ว พฤติการณ์แห่งคดีเช่นนี้ เชื่อได้ว่าโจทก์ตกลงรับจะทำการงานให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงให้ค่าจ้างเพื่อการนั้น ทำให้สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยได้เกิดขึ้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 โดยโจทก์และจำเลยมิได้มุ่งหมายให้สัญญาจ้างทำของพิพาทต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือโดยให้คู่สัญญาลงชื่อในสัญญาอีก สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยว่าสัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 366 วรรคสอง, ม. 587
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที