Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 581 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 581 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 581” คืออะไร? 


“มาตรา 581” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 581 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าระยะเวลาที่ได้ตกลงว่าจ้างกันนั้นสุดสิ้นลงแล้วลูกจ้างยังคงทำงานอยู่ต่อไปอีก และนายจ้างรู้ดังนั้นก็ไม่ทักท้วงไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิม แต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะเลิกสัญญาเสียได้ด้วยการบอกกล่าวตามความในมาตราต่อไปนี้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 581” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 581 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7717/2551
กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสาม สัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างต้องเป็นไปตามมาตรา 118 วรรคสี่ โดยต้องเป็นสัญญาจ้างในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานจะต้องแล้วเสร็จในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เงินที่จำเลยให้โจทก์ก่อนที่จะครบกำหนดระยะเวลา 12 เดือน ตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเดิมเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนระหว่างวันที่ 14 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 13 เมษายน 2544 แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวในวันที่ 13 เมษายน 2544 แล้วจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ ยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป ทั้งยังยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จึงต้องถือว่าได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 581 กลายเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างกันไว้ ดังนั้นเมื่อจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ทราบเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 581
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 5, ม. 118


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2540
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง5ปีนับแต่วันที่26กุมภาพันธ์2516ตามสัญญาจ้างได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่าเมื่อจ้างกันครบกำหนด5ปีแล้วจำเลยจะจ้างโจทก์ต่ออีกคราวละ1ปีต่อเมื่อจำเลยได้พิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์เป็นที่พอใจแล้วเมื่อสัญญาจ้างครบกำหนดจำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่ออีก1ปีโดยระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมไว้ว่าหากสิ้นสุดระยะเวลาว่าจ้างตามสัญญานี้แล้วและมิได้มีการแจ้งให้ท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก็ให้ถือว่าการจ้างสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ต่อมาหลังจากสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงแล้วจำเลยหาได้แจ้งแก่โจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะต่อสัญญาจ้างให้โจทก์อีกหรือไม่และจำเลยคงให้โจทก์ทำงานในตำแหน่งเดิมและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตลอดมาการที่ตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเช่นโจทก์จะต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานและตรวจสุขภาพทุกปีก็เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้นจึงหามีผลเป็นการต่อสัญญาจ้างเป็นรายปีไม่ดังนั้นเมื่อสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงและจำเลยจ้างโจทก์ต่อมาจึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนแต่ยังคงไว้ซึ่งความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาเสียเมื่อใดก็ได้โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา581,582การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะต่ออายุสัญญาจ้างให้โจทก์คราวละ5ปีตามสัญญาจ้างที่ปรับปรุงใหม่ขอให้โจทก์แจ้งความประสงค์ภายในวันที่25กุมภาพันธ์2537หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไปและจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์นั้นโดยจำเลยบอกกล่าวล่วงหน้าโดยให้ระยะเวลาถึง11เดือนแก่โจทก์ในการตัดสินใจและเป็นสัญญาจ้างใหม่ที่เป็นคุณกว่าเดิมทั้งเป็นผลสืบเนื่องจากการยื่นข้อเท็จจริงของสหภาพแรงงานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อให้เกิดความทัดเทียมกันในหมู่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินด้วยกันและเป็นระเบียบเดียวกันแม้โจทก์จะไม่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานดังกล่าวและมิได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องก็ตามแต่เมื่อโจทก์ไม่ยอมผูกพันตามสัญญาจ้างที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวกรณีเช่นนี้จำเลยก็ย่อมมีเหตุผลสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 581, ม. 582
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 49


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2540
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 5 ปี นับแต่วันที่26 กุมภาพันธ์ 2516 ตามสัญญาจ้างได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า เมื่อจ้างกันครบกำหนด 5 ปีแล้ว จำเลยจะจ้างโจทก์ต่ออีกคราวละ 1 ปี ต่อเมื่อจำเลยได้พิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์เป็นที่พอใจแล้ว เมื่อสัญญาจ้างครบกำหนดจำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่ออีก 1 ปี โดยระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมไว้ว่า หากสิ้นสุดระยะเวลาว่าจ้างตามสัญญานี้แล้ว และมิได้มีการแจ้งให้ท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก็ให้ถือว่าการจ้างสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ ต่อมาหลังจากสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยหาได้แจ้งแก่โจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะต่อสัญญาจ้างให้โจทก์อีกหรือไม่และจำเลยคงให้โจทก์ทำงานในตำแหน่งเดิมและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตลอดมาการที่ตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเช่นโจทก์จะต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานและตรวจสุขภาพทุกปีก็เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น จึงหามีผลเป็นการต่อสัญญาจ้างเป็นรายปีไม่ดังนั้นเมื่อสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงและจำเลยจ้างโจทก์ต่อมา จึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนแต่ยังคงไว้ซึ่งความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาเสียเมื่อใดก็ได้โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581,582 การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะต่ออายุสัญญาจ้างให้โจทก์คราวละ5 ปี ตามสัญญาจ้างที่ปรับปรุงใหม่ ขอให้โจทก์แจ้งความประสงค์ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2537 หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไป และจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์นั้นโดยจำเลยบอกกล่าวล่วงหน้าโดยให้ระยะเวลาถึง 11 เดือนแก่โจทก์ในการตัดสินใจ และเป็นสัญญาจ้างใหม่ที่เป็นคุณกว่าเดิมทั้งเป็นผลสืบเนื่องจากการยื่นข้อเท็จจริงของสหภาพแรงงานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อให้เกิดความทัดเทียมกันในหมู่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินด้วยกันและเป็นระเบียบเดียวกันแม้โจทก์จะไม่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานดังกล่าวและมิได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ยอมผูกพันตามสัญญาจ้างที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวกรณีเช่นนี้จำเลยก็ย่อมมีเหตุผลสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 581, ม. 582
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 49
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที