Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 576 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 576 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 576” คืออะไร? 


“มาตรา 576” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 576 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าตามพฤติการณ์ไม่อาจจะคาดหมายได้ว่างานนั้นจะพึงทำให้เปล่าไซร้ ท่านย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 576” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 576 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311 - 1312/2517
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้วแม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 425, ม. 575, ม. 576, ม. 608, ม. 1012


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311 - 1312/2517
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 425, ม. 575, ม. 576, ม. 608, ม. 1012


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2486
สัญญาจ้างว่าความตกลงกันว่าเมื่อเรียกร้องเงินแสนบาท จะให้ค่าจ้างสองหมื่นถือเป็นหลักคำนวณตามมากน้อยตามส่วนที่จะได้ ดังนี้ถือว่าเป็นข้อสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์ที่พิพาทขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ มาตรา 12(2) ย่อมเป็นโมฆะและจะฟ้องเรียกค่าจ้างตามสมควรไม่ได้ด้วย พ.ร.บ.ทนายความมาตรา 12(2) นั้นแยกได้เป็น 2 กรณีคือปลูกความโดยหามูลมิได้อย่างหนึ่งและแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์พิพาทอีกอย่างหนึ่งและทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาจ้างว่าความตกลงกันว่าค่าทนายที่ศาลตัดสินให้ ยอมให้เป็นของทนายในกรณีถอนฟ้องฯลฯ ดังนี้ถ้าไม่ได้ถอนฟ้องทนายจะฟ้องเรียกไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 113, ม. 132, ม. 135, ม. 368, ม. 576, ม. 587
พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477 ม. 12
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที