Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 568 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 568 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 568” คืออะไร? 


“มาตรา 568” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 568 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไปแต่เพียงบางส่วนและมิได้เป็นเพราะความผิดของผู้เช่า ท่านว่าผู้เช่าจะเรียกให้ลดค่าเช่าลงตามส่วนที่สูญหายก็ได้
              ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้เช่าไม่สามารถใช้สอยทรัพย์สินส่วนที่ยังคงเหลืออยู่นั้นสำเร็จประโยชน์ได้ดังที่ได้มุ่งหมายเข้าทำสัญญาเช่าไซร้ ท่านว่าผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 568” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 568 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2536
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 568 วรรคแรก ข้อความว่าผู้เช่าจะเรียกให้ลดค่าเช่าลงตามส่วนก็ได้ มีความหมายอยู่ในตัวว่าผู้เช่าจะไม่เรียกให้ลดค่าเช่าลงก็ได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับให้ต้องลดค่าเช่าลงในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไปแต่เพียงบางส่วน สัญญาเช่าที่มีข้อตกลงว่าจำเลยต้องชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์เป็นรายปีไม่ว่าจำนวนรั้วที่กั้นและเนื้อที่โฆษณาจะลดลงด้วยประการใดก็ตามค่าเช่าในแต่ละรายปีจะไม่เปลี่ยนแปลงนั้นจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญามีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้เช่า (จำเลย) ไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ให้กรุงเทพมหานคร (โจทก์)ริบเงินค้ำประกันสัญญาตามสัญญาข้อ 3 และให้ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาต่อกันทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน" นั้นเป็นการให้สิทธิเลิกสัญญาเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยผู้ไม่ชำระหนี้ด้วย

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 368, ม. 386, ม. 387, ม. 568 วรรคแรก


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583 - 1584/2519
โจทก์และจำเลยต่างฟ้องกันเกี่ยวกับการเช่าโรงแรม ก่อนสืบพยานคู่ความแถลงตกลงกันเพื่อเลิกคดี เรื่องค่าเช่าที่ค้างนั้นตกลงกันว่า โจทก์ยอมชำระค่าเช่าที่ค้างมาทั้งหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งจะได้คิดตัวเลขกันต่อไปว่าค้างค่าเช่ามาเท่าใด ต่อมาจำเลยแถลงว่าโจทก์ยังค้างค่าเช่ารวม 10 เดือน โจทก์แถลงโต้แย้งว่าค้าง 4 เดือนเท่านั้น อีก 6 เดือนต่อจากนั้นโจทก์ถือว่าไม่ใช่ค่าเช่า เพราะการเช่าต้องมีใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมได้ แต่ทางการไม่ต่อใบอนุญาตให้ เพราะจำเลยไปร้องไม่ให้ต่อใบอนุญาต ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้เถียงว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าสำหรับระยะเวลา 6 เดือน หลังนี้ เพราะว่าได้เลิกสัญญาเช่ากันแล้ว เมื่อการเช่ายังมีอยู่โจทก์ก็ต้องรับผิดในเรื่องค่าเช่า และที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไปร้องขอให้ทางการไม่อนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมในที่ที่เช่านั้น เมื่อปรากฏแก่ศาลว่าโรงแรมยังดำเนินกิจการอยู่ในระหว่างนั้น โจทก์ยังคงได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพย์สินที่เช่า โจทก์จึงต้องชำระค่าเช่าตอบแทน ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้างอยู่ทั้ง 10 เดือน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 138
ป.พ.พ. ม. 568 วรรคสอง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583 - 1584/2519
โจทก์และจำเลยต่างฟ้องกันเกี่ยวกับการเช่าโรงแรม ก่อนสืบพยานคู่ความแถลงตกลงกันเพื่อเลิกคดี เรื่องค่าเช่าที่ค้างนั้นตกลงกันว่า โจทก์ย่อมชำระค่าเช่าที่ค้างมาทั้งหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งจะได้คิดตัวเลขกันต่อไปว่าค้างค่าเช่ามาเท่าใด ต่อมาจำเลยแถลงว่าโจทก์ยังค้างค่าเช่ารวม 10 เดือน โจทก์แถลงโต้แย้งว่าค้าง 4 เดือนเท่านั้น อีก 6 เดือนต่อจากนั้นโจทก์ถือว่าไม่ใช่ค่าเช่า เพราะการเช่าต้องมีใบอนุญาตให้ดำเนินการโรงแรมได้ แต่ทางการไม่ต่อใบอนุญาตให้เพราะจำเลยไปร้องไม่ให้ต่อใบอนุญาต ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้เถียงว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าสำหรับระยะเวลา 6 เดือนหลังนี้ เพราะว่าได้เลิกสัญญาเช่ากันแล้ว เมื่อการเช่ายังมีอยู่โจทก์ก็ต้องรับผิดในเรื่องค่าเช่า และที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไปร้องขอให้ทางการไม่อนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมในที่ที่เช่านั้น เมื่อปรากฏแก่ศาลว่าโรงแรมยังดำเนินการอยู่ในระหว่างนั้น โจทก์ยังคงได้รับประโยชน์จากการที่ใช้ทรัพย์สินที่เช่า โจทก์จึงต้องชำระค่าเช่าตอบแทน ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้างอยู่ทั้ง 10 เดือน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 138
ป.พ.พ. ม. 568 วรรคสอง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที