Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 562 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 562 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 562” คืออะไร? 


“มาตรา 562” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 562 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  ผู้เช่าจะต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่า เพราะความผิดของผู้เช่าเอง หรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วง
              แต่ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์สินนั้นโดยชอบ“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 562” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 562 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2545
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 การแก้ไขคำฟ้องจะต้องกระทำเสียก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ขอมอบอำนาจช่วงให้ ว. ดำเนินคดีแทน ซึ่งโจทก์มีอำนาจตามกฎหมายอยู่แล้ว และทำเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องก็ได้ ส่วนที่โจทก์ขอแก้คำฟ้องว่าผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ คือ น. มิใช่ ส. เป็นการแก้ไขให้ตรงต่อความเป็นจริงเพราะโจทก์ผิดหลงพิมพ์ผิดไป เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงแก้ไขได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ต้องการซื้อรถยนต์แต่ไม่มีเงินพอ จึงให้โจทก์ชำระราคารถยนต์แก่ผู้ขาย แล้วโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นของโจทก์ จากนั้น โจทก์จึงนำรถยนต์ดังกล่าวมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้ยืม
การที่โจทก์ขายทอดตลาดโดยให้บริษัท ส. ซึ่งประกอบกิจการด้านนี้เป็นผู้ดำเนินการ ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการโดยไม่สุจริต ราคารถยนต์ที่ขายได้เป็นการขายตามสภาพที่ยึดมา ทั้งมีการประกาศขายทอดตลาดทางหนังสือพิมพ์ให้บุคคลทั่วไปทราบ และในขณะที่ทำการขายทอดตลาดยังไม่มีกฎหมายหรือประกาศคณะกรรมการ ว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ออกมาใช้บังคับ โจทก์จึงไม่ต้องแจ้งเรื่องการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบเสียก่อน
ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา เป็นค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 มิใช่ค่าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 562 เมื่อกฎหมายลักษณะเช่าซื้อมิได้บัญญัติอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจ โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมถึงความสุจริตในการต่อสู้คดี
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 155 วรรคสอง, ม. 193/30, ม. 562
ป.วิ.พ. ม. 180


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2545
จำเลยไม่ได้นำสืบว่าเมื่อจำเลยยึดรถยนต์ที่เช่าคืนมารถยนต์ที่เช่าชำรุดหรือมีความบุบสลายเพราะความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เช่าเสื่อมสภาพ เสื่อมราคา โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 562 วรรคแรก และตามสัญญาเช่าไม่ได้ระบุให้โจทก์ต้องรับผิดในราคารถยนต์ที่เช่าส่วนที่ขาดอยู่เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจึงไม่อาจเรียกราคารถยนต์ที่เช่าส่วนที่ขาดอยู่ จากโจทก์ได้
แม้ตามสัญญาเช่าจะระบุไว้ว่าผู้เช่าจะต้องวางเงินประกันต่อผู้ให้เช่าโดยไม่มีดอกเบี้ย แต่ย่อมมีความหมายเพียงว่านับแต่วันที่โจทก์ได้วางเงินประกันต่อจำเลยจนกระทั่งครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาในระหว่างเวลาเช่าดังกล่าวโจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงินประกันไม่ได้เท่านั้น ทั้งหนี้ที่จำเลยจะต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน จำเลยจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวให้โจทก์นับแต่วันผิดนัด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 224, ม. 562


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2541
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและโรงสีข้าวจากธนาคารแล้วนำไปให้จำเลยเช่า ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงสีข้าวและเครื่องจักรอุปกรณ์โรงสีข้าวได้รับความเสียหายทั้งหมดแม้ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้คดีนี้ โจทก์ยังชำระราคาค่าที่ดินและโรงสีข้าวให้แก่ธนาคารยังไม่ครบตามสัญญา ธนาคารยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและโรงสีข้าวก็ตาม แต่โจทก์เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินและโรงสีข้าวตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าอาคารโรงสีข้าวเครื่องจักร อุปกรณ์โรงสีข้าวพร้อมทั้งยุ้งฉาง สำนักงาน บ้านพักคนงาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาจากธนาคาร อีกทั้งเมื่อโจทก์ชำระราคาที่ดินและโรงสีข้าวครบ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญา โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์นั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์ดังกล่าวให้รับผิดได้
เหตุเพลิงไหม้โรงสีข้าวเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และเมื่อไม่ปรากฏว่าเหตุไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นเพราะความผิดของฝ่ายจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่า
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 562
ป.วิ.พ. ม. 55
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที