Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 556 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 556 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 556” คืออะไร? 


“มาตรา 556” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 556 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าในระหว่างเวลาเช่ามีเหตุจะต้องซ่อมแซมทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นเป็นการเร่งร้อน และผู้ให้เช่าประสงค์จะทำการอันจำเป็นเพื่อที่จะซ่อมแซมเช่นว่านั้นไซร้ ท่านว่าผู้เช่าจะไม่ยอมให้ทำนั้นไม่ได้ แม้ถึงว่าการนั้นจะเป็นความไม่สะดวกแก่ตน ถ้าการซ่อมแซมเป็นสภาพซึ่งต้องกินเวลานานเกินสมควร จนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 556” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 556 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2516
บิดาทำสัญญาต่างตอบแทนให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์ตลอดชีวิตผู้เช่าโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 การให้เช่ามีผลผูกพันบุตรผู้เยาว์เพียง 3 ปี
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานและสั่งกำหนดประเด็นนำสืบ ไม่ได้กำหนดประเด็นนำสืบข้อนี้ไว้ และจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้น ดังนี้ จำเลยจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226, 249
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 369, ม. 556, ม. 1546
ป.วิ.พ. ม. 226, ม. 249


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2516
บิดาทำสัญญาต่างตอบแทนให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์ตลอดชีวิตผู้เช่า โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 การให้เช่ามีผลผูกพันบุตรผู้เยาว์เพียง 3 ปี
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานและสั่งกำหนดประเด็นนำสืบ ไม่ได้กำหนดประเด็นนำสืบข้อนี้ไว้ และจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้น ดังนี้จำเลยจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226, 249
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 369, ม. 556, ม. 1546
ป.วิ.พ. ม. 226, ม. 249


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2493
สัญญาเช่า มีข้อความกำหนดการชำระค่าเช่ากันว่าถ้าผู้เก็บค่าเช่ามิได้ไปเก็บค่าเช่า จนล่วงพ้นวันที่ 7 ของเดือนนั้นไปแล้ว ผู้เช่าจะต้องนำค่าเช่าประจำเดือนนั้นไปชำระ ณ สำนักงานของผู้ให้เช่าภายในวันที่ 10 ของเดือนนั้น และมีอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้เช่าประพฤติผิดสัญญานี้ในข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิจะบอกเลิกเพิกถอนสัญญาเช่าได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้เช่าทราบก็ได้ ดังนี้ เมื่อผู้เช่างดส่งค่าเช่าถึง 3 เดือน ผู้ให้เช่าจึงบอกเลิกสัญญาเช่า โดยไม่ต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ได้ เพราะความในมาตรา 560 นี้ จะยกมาใช้ได้ต่อเมื่อมิได้มีข้อสัญญาดังกล่าวต่อกัน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 204, ม. 324, ม. 560, ม. 556
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที