Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 552 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 552 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 552” คืออะไร? 


“มาตรา 552” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 552 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันผู้เช่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติ หรือการดังกำหนดไว้ในสัญญานั้น ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 552” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 552 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2550
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองพร้อมบริวารออกจากอาคารพิพาทของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ในสภาพซ่อมแซมดีแล้วและใช้ค่าเสียหายจนกว่าจะส่งมอบเสร็จแก่โจทก์ ชั้นบังคับคดีปรากฏว่า ต. เช่าอาคารพิพาทบางส่วนจากจำเลยทั้งสอง ต. จึงเป็นบริวารของจำเลยทั้งสองและถือได้ว่า ต. ได้ครอบครองอาคารพิพาทแทนจำเลยทั้งสองตลอดมาถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ส่งมอบอาคารพิพาทให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น ต่อมา ต. ได้นำกุญแจห้องในอาคารพิพาทมอบให้แก่โจทก์ต่อหน้าศาล จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ส่งมอบอาคารพิพาทให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นในวันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้จนถึงวันดังกล่าว
เงินหรือประโยชน์จากการให้เช่าทรัพย์สินเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (5) (ก) ที่จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้ แต่เงินค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับตามคำพิพากษาถือเป็นเงินค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิดที่จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา มาตรา 42 (13) จำเลยทั้งสองจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีแทนโจทก์และไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ดังกล่าวจากโจทก์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 552
ป.วิ.พ. ม. 145
ป.รัษฎากร ม. 40 (5) (ก), ม. 42 (13)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8602/2542
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของจำเลยและจะใช้ที่ดินของโจทก์และจำเลยเพื่อทำสวนส้ม จึงต้องปรับแต่งหน้าดินของโจทก์และจำเลยให้มีระดับหน้าดินเท่ากันก่อนจะขุดร่องน้ำและทำคันดินกั้นน้ำ การที่จำเลยนำดินที่ขุดจากที่ดินของโจทก์ไปถมในที่ดินของจำเลยเพื่อให้มีระดับพื้นดินเท่ากัน เป็นการปรับปรุงที่ดินทั้งของโจทก์และจำเลยให้มีสภาพเหมาะสมแก่การทำสวนส้ม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้ทรัพย์ที่เช่าตามประเพณีนิยมปกติ และเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าที่ดินแล้วโจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยปรับแต่งหน้าดินให้เรียบหรือคงไว้ในสภาพเดิมได้ตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าที่ดินการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์ โจทก์ไม่อาจอาศัยเหตุดังกล่าวบอกเลิกสัญญาเช่าได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 552


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8602/2542
ที่ดินของโจทก์และจำเลยอยู่ติดกัน จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์เพื่อทำสวนส้มในที่ดินทั้งของโจทก์และจำเลย โดยจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ มีกำหนดการเช่า 22 ปี จำเลยได้ทำการขุดดินจากที่ดินของโจทก์ไปถมในที่ดินของจำเลย เพื่อให้ที่ดินของโจทก์และจำเลยมีระดับพื้นดินเท่ากัน เมื่อพิจารณาถึงสภาพภูมิประเทศรวมถึงที่ตั้งของที่ดิน ทั้งสองแปลงดังกล่าวแล้วพบว่าเป็นที่ราบลุ่ม หากปีใดมีฝนตกมากอาจเกิดน้ำท่วม บางปีก็แล้งน้ำ การทำสวนผลไม้จึงต้องขุดร่องน้ำเพื่อเก็บกักน้ำและทำคันดินกั้นน้ำรอบสวนด้านนอก เพื่อป้องกันน้ำท่วม อีกทั้งในการขุดร่องน้ำนี้ต้องเกลี่ยหน้าดินในแปลงให้มีระดับพื้นดินเท่ากันก่อนจึงจะขุดร่องน้ำและทำคันดินกั้นน้ำได้ การที่จำเลยขุดหน้าดินใน ที่ดินของโจทก์แล้วนำไปถมในที่ดินของจำเลย จึงเป็นการปรับปรุงที่ดินทั้งของโจทก์และของจำเลยให้มีสภาพ เหมาะสมแก่การทำสวนส้ม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้ทรัพย์ที่เช่าตามประเพณีนิยมปกติ และเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยปรับแต่งหน้าดินให้เรียบหรือให้คงไว้ในสภาพเดิมได้ จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 552
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที