Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 55 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 55” คืออะไร? 


“มาตรา 55” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 55 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  ถ้าผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจเฉพาะการอันใดไว้ ผู้จัดการทรัพย์สินจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการอันเป็นอำนาจเฉพาะการนั้นไม่ได้ แต่ถ้าปรากฏว่าการที่ตัวแทนจัดทำอยู่นั้นอาจจะเสียหายแก่ผู้ไม่อยู่ ผู้จัดการทรัพย์สินจะร้องขอให้ศาลถอดถอนตัวแทนนั้นเสียก็ได้“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 55” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 55 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10468/2546
สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์กับพวกฝ่ายหนึ่ง และบริษัท อ. อีกฝ่ายหนึ่ง จัดตั้งบริษัทจำเลยขึ้นมาให้มีฐานะเป็นบริษัทร่วมทุน และกำหนดให้จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาทุกประการ แต่จำเลยหามีฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาร่วมลงทุนไม่ ดังนั้น แม้ในสัญญามีข้อกำหนดว่า ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับข้อกำหนดแห่งสัญญานี้หรือเกี่ยวกับการปฏิบัติสัญญานี้และคู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ ให้เสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาชี้ขาด ก็เป็นข้อบังคับใช้ระหว่างโจทก์กับพวกและบริษัท อ. เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องเสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการจักต้องอยู่ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1151 ซึ่งระบุเฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะกระทำได้ รวมตลอดทั้งหากตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ กรรมการที่ยังมีอยู่แห่งนิติบุคคลนั้นมีสิทธิเลือกผู้อื่นตั้งขึ้นใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างได้ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1155 บัญญัติไว้ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมทุน และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในเหตุนี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2546
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ม. 10
ป.พ.พ. ม. 55, ม. 1151, ม. 1155
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 246, ม. 247


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2545
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการ ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 ข้อ 4 ระบุว่า ในกรณีที่มีปัญหา ในการปฏิบัติและการวินิจฉัยตามประกาศนี้ ให้อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัยและคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุดนั้น แม้ประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย แต่กฎหมายที่ให้อำนาจในการออกประกาศฉบับนี้มิได้บัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรที่จะออกประกาศกำหนดว่า ถ้ามีปัญหาในการปฏิบัติและอธิบดีมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ถือเป็นที่สุด ฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ ดังนั้น คำว่า "คำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวจึงมีความหมายเพียงว่า เป็นที่สุดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในชั้นวินิจฉัยว่า ผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ได้รับสิทธินั้นหรือไม่เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป ดังนั้นเมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
บันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อน วันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ ส่วนบันทึกข้อตกลงโครงการคอนโดมิเนียมทำขึ้นหลังพ้นกำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างทั้งสองฉบับ ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างฉบับเดิม สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแตกต่างไปจากเดิมมาก บันทึกข้อตกลงฉบับนี้จึงเป็นสัญญาที่โจทก์และบริษัท ม. ทำขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อ 1(3) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 7 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 55
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 ม. 178
ป.รัษฎากร ม. 80


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2544
โจทก์ฟ้องคดีโดยกล่าวอ้างว่า โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้คัดค้านและขัดขวางการรังวัด แต่เมื่อกลับได้ความว่าโจทก์ได้ขอยกเลิกการรังวัดที่ดินของโจทก์แล้ว โดยให้เหตุผลในบันทึกถ้อยคำของเจ้าพนักงานที่ดินว่า โจทก์กับจำเลยสามารถตกลงแนวเขตกันได้แล้วโดยไม่ติดใจสงสัยค้านแนวเขตด้านที่ติดกัน ดังนั้นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ย่อมหมดไป โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องจำเลยไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 55
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที