Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 546 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 546 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 546” คืออะไร? 


“มาตรา 546” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 546 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ให้เช่าจำต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 546” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 546 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16527/2557
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 546 บัญญัติว่า "ผู้ให้เช่าจำต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการยืนยันหน้าที่ของผู้ให้เช่าในอันที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้สอยหรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าในสภาพที่พร้อมจะให้ผู้เช่าทำการปลูกสร้างอาคารเพื่อดำเนินธุรกิจได้มีกำหนด 30 ปีตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าโจทก์เพียงแจ้งให้จำเลยเข้าปลูกสร้างอาคารโดยโจทก์ยังมิได้ขอความเห็นชอบต่อกรมการศาสนาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 4 ที่ระบุว่า "การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกินสามปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา" สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าตรงตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเงื่อนเวลาการก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จภายใน 10 เดือน นับแต่วันทำสัญญามาบังคับแก่จำเลยได้ จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย และตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนสิทธิการเช่า จำเลยผู้เช่ายังไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าจากจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 546
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 4


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545
วัดผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้โอนมีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่าแก่โจทก์ที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัดยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและให้จำเลยออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้ การที่โจทก์ที่ 1 ต้องทำสัญญาเช่ากับวัดโดยตรงเป็นเพียงต้องการตัดปัญหาเกี่ยวกับสัญญาเช่าอันจะเกิดขึ้นในภายหน้าเท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 546
ป.วิ.พ. ม. 55


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545
การที่วัด ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้โอนย่อมมีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วแก่โจทก์ที่ 1 เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัด ป. ยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและจำเลยพร้อมบริวารออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยไม่ยอมออกไปโจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.รัษฎากร ม. 118
ป.พ.พ. ม. 546
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที