Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 541 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 541 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 541” คืออะไร? 


“มาตรา 541” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 541 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  สัญญาเช่านั้นจะทำกันเป็นกำหนดว่าตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือของผู้เช่าก็ให้ทำได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 541” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 541 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2535
โจทก์ให้จำเลยรื้อห้องแถวเดิมออกแล้วสร้างอาคารตึกแถวขึ้นใหม่โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายแล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และโจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารตึกแถวดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาโดยถือเอาอายุฝ่ายผู้เช่าเป็นหลัก เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ต่อมาภายหลังโจทก์เรียกจำเลยมาทำสัญญาเช่าอาคารตึกแถวดังกล่าวมีกำหนด 1 ปี โดยมิได้มีเจตนาบังคับกันจริงจัง สัญญาเช่าฉบับหลังจึงไม่มีผลลบล้างสัญญาต่างตอบแทนที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขับไล่จำเลยตามสัญญาเช่าฉบับหลัง จำเลยนำสืบว่าสัญญาที่แท้จริงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า (ฉบับหลัง)ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 แม้ว่าบริเวณใกล้เคียงอาคารตึกแถวที่พิพาทจะถูกเพลิงไหม้และทางราชการประกาศเป็นเขตเพลิงไหม้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 เพื่อทำการปรับปรุงที่ดินให้เป็นถนน ซึ่งรวมอาคารตึกแถวพิพาทเข้าในเขตเพลิงไหม้ดังกล่าวด้วย แต่เมื่ออาคารตึกแถวพิพาทยังไม่ถูกทำลายหรือสูญหาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนข้อที่อ้างว่าโจทก์ในฐานะเจ้าของตึกแถวพิพาทถูกบังคับให้รื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทตามประกาศของทางราชการซึ่งออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้นโจทก์จะยกเงื่อนไขดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยไม่ได้เพราะการที่ทางราชการต้องการใช้ที่ดินแห่งใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการ มิใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะดำเนินการ ซึ่งตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ก็ได้บัญญัติไว้แล้วว่ากรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใดเพื่อประโยชน์ตามที่กำหนดในแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ให้ดำเนินการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 117, ม. 537, ม. 541, ม. 567
ป.วิ.พ. ม. 94
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 56, ม. 58, ม. 60, ม. 61


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2499
โจทก์นำเจ้าพนักงานรังวัดแบ่งแยกโฉนดจำเลยซึ่งมีที่ดินติดต่อได้ ฟ้องคัดค้านและว่าจะขอรอสอบเขตเสียก่อน แต่แล้วก็ไม่จัดการอย่างไร โจทก์ร้องขอรังวัดครั้งที่สองก็ไปคัดค้านอีก จึงเป็นการกระทำซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหาย ต้องรับผิดฐานละเมิด
โจทก์จะแบ่งที่ดินขายใช้หนี้จำนอง จำเลยคัดค้านการแบ่งแยกโฉนด เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยจำนองนานขึ้น แต่โจทก์ละเลยมิได้บอกให้จำเลยรู้ถึงเสียค่าเสียหายอันผิดปกตินี้จึงนับว่าเป็นความผิดของโจทก์ประกอบอยู่ด้วย ศาลย่อมอาศัยพฤติการณ์นั้นประมาณกำหนดลดหย่อนค่าเสียหายลงได้ตามที่เห็นสมควร
บิดาไปคัดค้านการรังวัดที่ดินแทนบุตรอันเป็นการละเมิดผู้อื่น บุตรย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร่วมด้วย.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 421, ม. 442, ม. 223, ม. 541, ม. 1543, ม. 820


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67 - 68/2491
สัญญาเช่าเรือน มีข้อความว่าผู้ให้เช่าจะไม่ขึ้นราคาค่าเช่าและเรียกกลับคืนไม่ได้นั้น แม้จะถือว่าเป็นการเช่าตลอดอายุของผู้ให้เช่าก็ดีเมื่อปรากฏว่าเช่ากันมาเกิน 3 ปีแล้ว และผู้ให้เช่าคนเดิมก็ตายแล้วและการเช่าก็มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ผู้รับมรดกมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องเรียกคืนได้
ในกรณีที่มีการฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีนั้นเมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีแล้ว ก็ไม่จำต้องพิจารณาฎีกาคัดค้านคดีคำสั่งต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 538, ม. 541
ป.วิ.พ. ม. 223, ม. 242, ม. 231
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที