Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 534 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 534 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 534” คืออะไร? 


“มาตรา 534” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 534 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อถอนคืนการให้ ท่านให้ส่งคืนทรัพย์สินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 534” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 534 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2553
ถ้อยคำที่จำเลยด่าโจทก์ว่า "อีแก่ไม่ยุติธรรม มึงทำให้ครอบครัวกูแตกแยก กูจะไม่อยู่กับมึงแล้ว" เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นอา จำเลยเรียกโจทก์ว่า อีแก่ ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์อับอายเสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้
ก่อนฟ้องคดีจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 27546 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้อื่น เมื่อถอนคืนการให้ จำเลยต้องส่งคืนทรัพย์สินแก่โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยคืนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 413 วรรคหนึ่งและมาตรา 534
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 413 วรรคหนึ่ง, ม. 531 (2), ม. 533 วรรคหนึ่ง, ม. 534


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2548
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน โจทก์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วก่อนเลิกสัญญา และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 574
ข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดว่า "อนึ่ง แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้าสัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าที่ซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ" เป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหรือหากสูงเกินส่วนศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม พ.ร.บ. มาตรา 383 วรรคแรก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 383, ม. 572, ม. 534


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3627/2526
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา แล้วจำเลยที่ 1 โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 โจทก์ฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ และขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยอ้างว่าเป็นการสมยอมกันเพื่อฉ้อฉลโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต โจทก์ก็ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 คืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณากับมิได้อุทธรณ์ คงอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนี้ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วยไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 237, ม. 521, ม. 531, ม. 534, ม. 1300
ป.วิ.พ. ม. 147, ม. 245
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที