Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 53 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 53 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 53” คืออะไร? 


“มาตรา 53” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 53 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บัญชีทรัพย์สินตามมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๒ ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องอย่างน้อยสองคน พยานสองคนนั้นต้องเป็นคู่สมรสหรือญาติของผู้ไม่อยู่ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ถ้าไม่มีคู่สมรสหรือหาญาติไม่ได้ หรือคู่สมรสและญาติไม่ยอมเป็นพยาน จะให้ผู้อื่นซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วเป็นพยานก็ได้  “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 53” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 53 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2521
ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดของ จ. ให้กับโจทก์ โดยอ้างว่าทรัพย์สินทั้งนั้นเป็นสินเดิมของ จ. ตกเป็นมรดก โจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของ จ. ผู้สาบสูญตามคำสั่งศาล จะได้จัดแบ่งให้กับทายาทของ จ. ต่อไปแม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นบุตรของ จ. ซึ่งมีฐานะเป็นทายาทของ จ. ด้วย และทรัพย์สินของ จ. ตกเป็นมรดกแต่โจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอให้แบ่งมรดกให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นทายาท และมิได้มีคำขอบังคับท้ายฟ้องเช่นนั้น ดังนั้น ศาลจะพิพากษาให้แบ่งทรัพย์สินของ จ. เป็นกรณีมรดกไม่ได้ เป็นการเกินคำขอ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142วรรคแรก และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม (2) เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเป็นของตนทั้งหมด ซึ่งศาลอาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่เพียงบางส่วนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1360/2517ประชุมใหญ่)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 142
ป.พ.พ. ม. 53, ม. 62, ม. 1711


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2521
ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดของจ.ให้กับโจทก์ โดยอ้างว่าทรัพย์สินทั้งนั้นเป็นสินเดิมของ จ.ตกเป็นมรดก โจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของ จ.ผู้สาบสูญตามคำสั่งศาล จะได้จัดแบ่งให้กับทายาทของ จ.ต่อไป แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นบุตรของ จ.ซึ่งมีฐานะเป็นทายาทของ จ.ด้วย และทรัพย์สินของ จ.ตกเป็นมรดกแต่โจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอให้แบ่งมรดกให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นทายาท และมิได้มีคำขอบังคับท้ายฟ้องเช่นนั้น ดังนั้น ศาลจะพิพากษาให้แบ่งทรัพย์สินของ จ.เป็นกรณีมรดกไม่ได้ เป็นการเกินคำขอ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม (2) เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเป็นของตนทั้งหมด ซึ่งศาลอาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่เพียงบางส่วนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1360/2517 ประชุมใหญ่)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 142
ป.พ.พ. ม. 53, ม. 62, ม. 1711


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2498
บุตรผู้เยาว์ของบุคคลซึ่งไปเสียจากภูมิลำเนา โดยมิได้ตั้งตัวแทนไว้และไม่มีใครรู้ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรนั้น จะยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของบุคคลนั้น โดยมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมไม่ได้ เพราะกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข้อยกเว้นที่ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 53, ม. 22
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที