Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 524 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 524 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 524” คืออะไร? 


“มาตรา 524” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 524 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การให้สิทธิอันมีหนังสือตราสารเป็นสำคัญนั้น ถ้ามิได้ส่งมอบตราสารให้แก่ผู้รับ และมิได้มีหนังสือบอกกล่าวแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้น ท่านว่าการให้ย่อมไม่สมบูรณ์ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 524” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 524 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2538
ตามบทบัญญัติของกฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505บุคคลใดมีความประสงค์จะให้ที่ดินเพื่อสร้างวัดจะต้องทำสัญญากับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัด และเมื่อทางราชการอนุญาตให้ตั้งวัดแล้วบุคคลดังกล่าวต้องดำเนินการโอนที่ดินให้แก่วัด หากไม่ดำเนินการโอนก็ให้นายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอฟ้องบังคับให้โอนได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 2และที่ 3 ทำหนังสือสัญญายกที่ดินโฉนดเลขที่ 2602 และ 7961 ให้สร้างวัดกับนายอำเภอเมืองสมุทรสาครและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเมืองสมุทรสาคร จึงไม่มีผลเป็นหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัดตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 1(พ.ศ. 2507) ดังที่กล่าวข้างต้น ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 อยู่ โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้โจทก์ที่ 1 ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2602 และ 7961 จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
และตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ระบุไว้ว่าหากทางราชการอนุญาตให้ตั้งวัดแล้ว และบุคคลที่แสดงความจำนงยกที่ดินให้สร้างวัด ซึ่งได้ทำสัญญากับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอไว้แล้ว ไม่โอนที่ดินให้แก่วัดบุคคลที่มีอำนาจฟ้องบังคับให้โอนที่ดินให้แก่วัดคือนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอส่วนจำเลยหามีบทบัญญัติของกฎหมายฉบับใดให้อำนาจให้กระทำได้ไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ทำสัญญายกที่ดินให้สร้างวัดกับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอ ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตเพื่อสร้างวัด และทางราชการก็ยังไม่อนุญาตให้ตั้งวัด ดังนั้นแม้แต่นายอำเภอและเจ้าพนักงาน-ที่ดินอำเภอก็ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 2602,7961 และ 11860 หรือเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าวได้ จำเลยซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้และไม่ใช่คู่สัญญาหรือเจ้าหนี้ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ส่วนการขออนุญาตสร้างวัดก็เป็นเรื่องการแสดงเจตนาของบุคคลที่ประสงค์จะสร้างวัดและเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น ไม่ใช่กรณีที่เกิดจากนิติกรรมหรือบทบัญญัติของกฎหมาย จึงไม่อาจจะบังคับให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3ไปขออนุญาตสร้างวัดได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 213, ม. 521, ม. 523, ม. 524, ม. 525
ป.วิ.พ. ม. 55
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ม. 6, ม. 32


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2505
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกแบ่งทรัพย์สินให้ภริยาด้วยนั้นการแบ่งทรัพย์นี้ไม่ใช่คำมั่นว่าจะให้แต่เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1512
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 524, ม. 526, ม. 1299, ม. 1512


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321 - 322/2504
ชายหญิงอยู่กินกันอย่างสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสบุตรที่เกิดมาก็อยู่ร่วมด้วยจนกระทั่งชายตายจากไป ชายได้อุปการะเลี้ยงดูบุตรฉันบิดากับบุตร บุตรใช้นามสกุลของชายนั้น และเรียกชายนั้นว่าพ่อ ในการสำรวจทะเบียนราษฎร พ.ศ.2499 ก็ปรากฏในทะเบียนนั้นว่า เด็กนั้นเป็นบุตรของชาย ดังนี้ถือว่าชายได้รับรองเด็กนั้นเป็นบุตรโดยชัดแจ้ง เด็กนั้นย่อมเป็นผู้สืบสันดานของชายเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิรับจำนองเป็นอสังหาริมทรัพย์
การยกสิทธิรับจำนองให้แก่กัน ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 100, ม. 524, ม. 525, ม. 1525, ม. 1627, ม. 1629 (1)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที