Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 517 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 517 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 517” คืออะไร? 


“มาตรา 517” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 517 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าเงินรายได้ในการทอดตลาดส่วนหนึ่งส่วนใดค้างชำระอยู่ เพราะเหตุผู้ทอดตลาดละเลยไม่บังคับตามบทในมาตรา ๕๑๕ หรือมาตรา ๕๑๖ ไซร้ ท่านว่าผู้ทอดตลาดจะต้องรับผิด “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 517” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 517 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2507
แม้ในชั้นแรก ผู้เช่าจะใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัยก็ตาม แต่ต่อมาเมื่อผู้เช่าได้ใช้ตึกพิพาทเป็นที่ประกอบการค้าแล้ว ผู้เช่าย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ และโดยที่เรื่องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลจึงย่อมวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 517, ม. 538
พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2409


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2506
ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์เช่ารถมีกำหนด 1 ปี รถที่ให้เช่านี้ชำรุดอยู่ ได้ตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้ซ่อมรถให้ใช้การได้ ด้วยทุนทรัพย์ของโจทก์เอง ครั้นโจทก์รับมอบรถมาซ่อมและเช่าได้ไม่ถึงครึ่งปี จำเลยก็เอารถคืนไปเสีย โจทก์ทวงค่าซ่อมรถก็ไม่ยอมใช้ให้ ขอให้บังคับใหัจำเลยใช้เงินค่าซ่อมรถ ดังนี้เป็นที่เห็นได้ว่าที่โจทก์กล้าลงทุนซ่อมรถเอาเองก็โดยหวังว่าจะได้ใช้รถ 1 ปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ให้โจทก์ได้ใช้รถตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ก็มีสิทธิแสดงความเสียหายต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องจากจำเลยในฐานผิดสัญญาได้ การที่ได้ลงทุนซ่อมรถไปนั้น ก็เป็นความเสียหายส่วนหนึ่งเสมือนกัน ศาลย่อมบังคับให้จำเลยใช้ให้โจทก์ได้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นการบังคับนอกคำฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายหาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 213, ม. 517


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2506
ในการทำสัญญาเช่าห้อง ผู้เช่าออกเงินให้ผู้ให้เช่า 5,000 บาท ในสัญญาเช่ากล่าวถึงว่าเป็นเงินค่าก่อสร้างค่าแป๊ะเจี๊ยะ เมื่อคดีได้ความว่าในขณะทำสัญญานี้ผู้ให้เช่ามีห้องพร้อมอยู่ แล้วไม่จำต้องก่อสร้างขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้ เงินที่ผู้เช่าออกไปนั้น จึงไม่ใช่เงินค่าก่อสร้าง คงเป็นเงินกินเปล่าตามธรรมดาสัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดา ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน
สัญญาเช่าที่ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน เมื่อกำหนดระยะเวลาเช่าไว้ 10 ปีโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่านั้น คงบังคับกันได้เพียง 3 ปี
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 112, ม. 114, ม. 118, ม. 517, ม. 538
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที