Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 506 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 506 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 506” คืออะไร? 


“มาตรา 506” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 506 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การตรวจดูทรัพย์สินนั้น ถ้าไม่ได้กำหนดเวลากันไว้ ผู้ขายอาจกำหนดเวลาอันสมควร และบอกกล่าวแก่ผู้ซื้อให้ตอบภายในกำหนดนั้นได้ว่าจะรับซื้อหรือไม่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 506” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 506 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2528
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 และมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ เตรียมกำลัง กองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหาย ต่อการจัดเตรียมกำลัง กองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกำหนดให้ผู้สมัครเข้ารับราชการสังกัดจำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจะรับราชการในกระทรวงกลาโหมไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ และกำหนดค่าปรับในกรณีที่ผู้นั้นผิดสัญญาได้ แม้คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 555/18 จะระบุถึงบุคคลประเภทต่างๆ ซึ่งจะต้องทำสัญญากับ จำเลยที่ 1 โดยไม่รวมถึงนายทหารประทวนเช่นโจทก์ก็ตาม
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจ และไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับ แก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าว ในนามของจำเลยที่ 1ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 75, ม. 113, ม. 379, ม. 506
พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 ม. 16, ม. 17


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2511
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาสำหรับบุตรด้วยจำนวนหนึ่ง. จำเลยให้การต่อสู้ฟ้องข้อนี้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ขาดอุปการะเลี้ยงดู. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชดใช้. เป็นข้ออ้างข้อเถียงอันเกิดจากคำฟ้องและคำให้การเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้หรือไม่.

ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ผู้ตายซึ่งเป็นบิดามีบุตรกับโจทก์4 คน พร้อมทั้งระบุชื่อและอายุของบุตรทุกคน. บุตรเหล่านี้อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ตายขณะยังมีชีวิต. เมื่อผู้ตายตาย. บุตรเหล่านี้ขาดที่พึ่งและผู้อุปการะเลี้ยงดู จึงขอเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูของบุตรเหล่านี้. ดังนี้ มีความหมายพอเข้าใจได้ว่าบุตรเหล่านี้ขอเรียกค่าเสียหายตามสิทธิของตนนั่นเอง. แต่เพราะเหตุที่บุตรเหล่านี้มีอายุอย่างสูงเพียง 6 ปี ฟ้องด้วยตนเองไม่ได้. โจทก์ซึ่งเป็นมารดาจึงฟ้องแทนตามฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องในนามของบุตรโดยปริยาย.
มารดาไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรจากผู้ทำละเมิดต่อบิดาของบุตรในนามของมารดา. เพราะค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายของบุตรที่ขาดการอุปการะเลี้ยงดู.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 172, ม. 177, ม. 183
ป.พ.พ. ม. 443, ม. 506


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2511
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาสำหรับบุตรด้วยจำนวนหนึ่งจำเลยให้การต่อสู้ฟ้องข้อนี้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ขาดอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชดใช้ เป็นข้ออ้างข้อเถียงอันเกิดจากคำฟ้องและคำให้การเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้หรือไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ผู้ตายซึ่งเป็นบิดามีบุตรกับโจทก์ 4 คน พร้อมทั้งระบุชื่อและอายุของบุตรทุกคน บุตรเหล่านี้อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ตายขณะยังมีชีวิตเมื่อผู้ตายตายบุตรเหล่านี้ขาดที่พึ่งและผู้อุปการะเลี้ยงดู จึงขอเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูของบุตรเหล่านี้ ดังนี้ มีความหมายพอเข้าใจได้ว่าบุตรเหล่านี้ขอเรียกค่าเสียหายตามสิทธิของตนนั่นเองแต่เพราะเหตุที่บุตรเหล่านี้มีอายุอย่างสูงเพียง 6 ปี ฟ้องด้วยตนเองไม่ได้โจทก์ซึ่งเป็นมารดาจึงฟ้องแทนตามฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องในนามของบุตรโดยปริยาย
มารดาไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรจากผู้ทำละเมิดต่อบิดาของบุตรในนามของมารดาเพราะค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายของบุตรที่ขาดการอุปการะเลี้ยงดู
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 172, ม. 177, ม. 183
ป.พ.พ. ม. 443, ม. 506
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที