Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 505 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 505 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 505” คืออะไร? 


“มาตรา 505” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 505 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันว่าขายเผื่อชอบนั้น คือการซื้อขายกันโดยมีเงื่อนไขว่าให้ผู้ซื้อได้มีโอกาสตรวจดูทรัพย์สินก่อนรับซื้อ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 505” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 505 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2548
จำเลยรับนาฬิกาข้อมือจำนวน 7 เรือน ของผู้เสียหายไปเพื่อให้สามีตรวจดูโดยมีเจตนาจะซื้อขายกันและมีข้อตกลงจะใช้เวลาในการตรวจดูประมาณ 14 วัน หากจำเลยไม่ตกลงซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าไม่ซื้อหรือส่งนาฬิกาคืน ถ้าครบกำหนด 14 วัน แล้วจำเลยไม่แจ้งต่อผู้เสียหายและไม่ส่งมอบนาฬิกาคืน ย่อมถือว่าจำเลยตกลงซื้อนาฬิกาทั้ง 7 เรือน อันเป็นผลให้การซื้อขายเผื่อชอบมีผลบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 508 จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้เสียหาย หากไม่ชำระผู้เสียหายต้องไปว่ากล่าวแก่จำเลยในทางแพ่งตามสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" และ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขายให้จำเลยผู้ซื้อยืมสินค้าไปตรวจดูเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่หรือไม่เป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายเผื่อชอบกันแล้ว กรณีก็ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นเรื่องสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จะนำ ป.พ.พ. มาตรา 11 มาใช้ตีความเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 352
ป.พ.พ. ม. 11, ม. 505
ป.วิ.อ. ม. 227
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ม. 33


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2543
โจทก์ร่วมและจำเลยต่างมีความประสงค์จะซื้อจะขายรถยนต์โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะนำรถยนต์ของโจทก์ร่วมไปทดลองใช้ก่อน 7 วัน หากพอใจจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ร่วม ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยส่อแสดงเจตนาว่าทั้งสองฝ่ายจะซื้อจะขายรถยนต์กันตั้งแต่เริ่มแรก การที่จำเลยได้รับมอบรถยนต์จากโจทก์ร่วมจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายเผื่อชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 505การที่โจทก์ร่วมส่งมอบรถยนต์ให้จำเลยทดลองขับ ถือว่าเป็นการตรวจดูแล้ว การซื้อขายย่อมเป็นอันบริบูรณ์ เพราะจำเลยมิได้บอกกล่าวว่าไม่ยอมรับซื้อและมิได้ส่งมอบรถยนต์คืนภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 508(1)(2) เมื่อปรากฏว่า ขณะที่รถยนต์ของโจทก์ร่วมหายไป และจำเลยยังมิได้ชำระราคารถยนต์แก่โจทก์ร่วมต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 505, ม. 508
ป.อ. ม. 352


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2543
โจทก์ร่วมและจำเลยต่างมีความประสงค์จะซื้อจะขายรถยนต์โดยมีการกำหนดราคาและเงื่อนไข จำเลยจะนำรถยนต์ของโจทก์ร่วมไปทดลองใช้ก่อน 7 วัน หากพอใจจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ร่วม ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยส่อแสดงเจตนาว่าทั้งสองฝ่ายจะซื้อจะขายรถยนต์กันตั้งแต่เริ่มแรก การที่จำเลยได้รับมอบรถยนต์จากโจทก์ร่วมจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายเผื่อชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 505 หลังจากจำเลยรับมอบรถยนต์แล้วรถยนต์หายไปโดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ส่อแสดงเจตนาทุจริตของจำเลยว่ากุเรื่องรถยนต์หายเพื่อลวงโจทก์ร่วม เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยเป็นเรื่องการซื้อขายเผื่อชอบและโจทก์ร่วมได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่จำเลยทดลองขับ ถือว่าเป็นการตรวจดูแล้ว การซื้อขายย่อมเป็นอันบริบูรณ์กล่าวคือจำเลยมิได้บอกกล่าวว่าไม่ยอมรับซื้อและจำเลยมิได้ส่งมอบรถยนต์คืนภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 508(1)(2) แม้ขณะที่รถยนต์ของโจทก์ร่วมหายไปจำเลยจะมิได้ชำระราคารถยนต์แก่โจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องจะต้องไปว่ากล่าวในทางแพ่งต่างหาก การกระทำไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 352
ป.พ.พ. ม. 505, ม. 508
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที