Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 504 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 504 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 504” คืออะไร? 


“มาตรา 504” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 504 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในข้อรับผิดเพื่อการส่งของไม่ตรงตามตัวอย่าง หรือไม่ตรงตามคำพรรณนานั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 504” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 504 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7727/2540
โจทก์เรียกค่าสินค้าคืนจากจำเลย พร้อมให้ชำระเบี้ยปรับและค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่าจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาข้อ 7 ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่มีการส่งมอบสินค้าถูกต้องตามสัญญาแล้วเกิดความชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังโดยมิใช่ความผิดของโจทก์ ตามสัญญาข้อ 9ดังนี้ โจทก์จึงไม่จำต้องแจ้งเตือน ให้จำเลยส่งมอบสินค้าใหม่ก่อนยื่นคำฟ้อง ตามสัญญาซื้อขายโกโก้ผง ข้อ 7 ระบุว่า ถ้าปรากฏว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีจำนวนขนาด คุณภาพ แหล่งกำเนิดหรือชนิดไม่เป็นไปตามรายการละเอียดที่ระบุไว้ในใบสั่งแนบท้ายสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้นแม้สินค้าเพียงบางส่วนมีคุณภาพไม่เป็นไปตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าบางส่วนนั้นได้และเมื่อสินค้าที่ซื้อขายที่จำเลยส่งมอบไม่ตรงตามสัญญาและโจทก์ปฏิเสธไม่รับที่จำเลยส่งมอบดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ พร้อมเบี้ยปรับและค่าเสียหายอื่นตามสัญญา ตามประกาศประกวดราคาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระบุไว้ว่าตัวอย่างของที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพื่อประโยชน์ในการที่โรงงานยาสูบจะได้ทำการตรวจสอบคุณภาพ และคู่สัญญาจะทำสัญญาซื้อขาย กันตามชนิด จำนวนคุณภาพที่ถูกต้องตรงตามความประสงค์และเป็นที่พอใจของโรงงานยาสูบ ประกอบกับในสัญญาก็ไม่มีการระบุว่า ผู้ขายจะต้องส่งของให้ตรงตามตัวอย่างแต่ประการเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าตามสัญญาเป็นประการอื่นอีกแสดงว่าตัวอย่างที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพียงเพื่อตรวจสอบคุณภาพ มิใช่เพื่อสำหรับใช้ตรวจสอบว่าของที่ต้องส่งมอบตามสัญญาถูกต้องตรงตามตัวอย่างนั้นหรือไม่สัญญาซื้อขายโกโก้ผงดังกล่าวจึงมิใช่ซื้อขายตามตัวอย่าง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 171, ม. 213, ม. 453, ม. 503, ม. 504
ป.วิ.พ. ม. 55


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7727/2540
โจทก์เรียกค่าสินค้าคืนจากจำเลย พร้อมให้ชำระเบี้ยปรับและค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่าจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาข้อ 7 ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่มีการส่งมอบสินค้าถูกต้องตามสัญญาแล้วเกิดความชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังโดยมิใช่ความผิดของโจทก์ ตามสัญญาข้อ 9 ดังนี้ โจทก์จึงไม่จำต้องแจ้งเตือนให้จำเลยส่งมอบสินค้าใหม่ก่อนยื่นคำฟ้อง
ตามสัญญาซื้อขายโกโก้ผง ข้อ 7 ระบุว่า ถ้าปรากฏว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีจำนวน ขนาด คุณภาพ แหล่งกำเนิดหรือชนิดไม่เป็นไปตามรายการละเอียดที่ระบุไว้ในใบสั่งแนบท้ายสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้น แม้สินค้าเพียงบางส่วนมีคุณภาพไม่เป็นไปตามสัญญา โจทก์ก็มีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าบางส่วนนั้นได้และเมื่อสินค้าที่ซื้อขายที่จำเลยส่งมอบไม่ตรงตามสัญญาและโจทก์ปฏิเสธไม่รับที่จำเลยส่งมอบดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ พร้อมเบี้ยปรับและค่าเสียหายอื่นตามสัญญา
ตามประกาศประกวดราคาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ระบุไว้ว่าตัวอย่างของที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพื่อประโยชน์ในการที่โรงงานยาสูบจะได้ทำการตรวจสอบคุณภาพ และคู่สัญญาจะทำสัญญาซื้อขายกันตามตามชนิด จำนวนคุณภาพที่ถูกต้องตรงตามความประสงค์ และเป็นที่พอใจของโรงงานยาสูบ ประกอบกับในสัญญาก็ไม่มีการระบุว่า ผู้ขายจะต้องส่งของให้ตรงตามตัวอย่างแต่ประการเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าตามสัญญาเป็นประการอื่นอีก แสดงว่าตัวอย่างที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพียงเพื่อตรวจสอบคุณภาพ มิใช่เพื่อสำหรับใช้ตรวจสอบว่าของที่ต้องส่งมอบตามสัญญาถูกต้องตรงตามตัวอย่างนั้นหรือไม่สัญญาซื้อขายโกโก้ผงดังกล่าวจึงมิใช่ซื้อขายตามตัวอย่าง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 171, ม. 213, ม. 453, ม. 503, ม. 504
ป.วิ.พ. ม. 55


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2539
โจทก์ทำสัญญาซื้อครอสอาร์มเลนท์จำนวน 1,100 ชิ้นจากจำเลยตามสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 ข้อ 1 มีความว่าสินค้ามีคุณสมบัติตรงตามสเปซิฟิเคชั่นที่เสนอต่อโจทก์ทุกประการจำหน่ายโดยบริษัทคังเซ้งประเทศไทย และข้อ 2 มีความว่าผู้ขายรับรองว่าสินค้าที่ขายให้ตามสัญญามีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามรายละเอียดที่กล่าวในข้อ 1 และตรงตามสเปซิฟิเคชั่นที่แนบท้ายสัญญาผู้ขายรับรองว่าเมื่อตรวจทดลองแล้วต้องมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ด้วยและก่อนทำสัญญาซื้อขายโจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคากำหนดคุณลักษณะและคุณภาพของสินค้าให้ผู้ยื่นซองประกวดราคาทราบเมื่อจำเลยประมูลได้แล้วจึงได้ทำสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.1 การซื้อขายดังกล่าวเป็นการซื้อขายตามเงื่อนไขเรียกประกวดราคาของโจทก์นอกจากนี้การซื้อขายนี้ยังยอมให้โจทก์ตรวจสอบคุณภาพก่อนดังนั้นรายละเอียดแนบท้ายสัญญาจึงเป็นเพียงรายละเอียดประกอบสัญญาเท่านั้นจึงเป็นการซื้อขายธรรมดามิใช่การซื้อขายตามตัวอย่างอันผู้ขายจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามตัวอย่างและในเรื่องนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความเป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม หรือ 193/30 ใหม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164 เดิม, ม. 193/30, ม. 453, ม. 503, ม. 504
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที