Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 502 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 502 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 502” คืออะไร? 


“มาตรา 502” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 502 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าบุคคลผู้ไถ่ย่อมได้รับคืนไปโดยปลอดจากสิทธิใด ๆ ซึ่งผู้ซื้อเดิม หรือทายาท หรือผู้รับโอนจากผู้ซื้อเดิมก่อให้เกิดขึ้นก่อนเวลาไถ่
              ถ้าว่าเช่าทรัพย์สินที่อยู่ในระหว่างขายฝากอันได้จดทะเบียนเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วไซร้ ท่านว่าการเช่านั้นหากมิได้ทำขึ้นเพื่อจะให้เสียหายแก่ผู้ขาย กำหนดเวลาเช่ายังคงมีเหลืออยู่อีกเพียงใด ก็ให้คงเป็นอันสมบูรณ์อยู่เพียงนั้น แต่มิให้เกินกว่าปีหนึ่ง “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 502” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 502 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611 - 612/2506
1. เมื่อพิจารณาตามฟ้องและคำให้การไม่มีฝ่ายใดอ้างถึงเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝากซึ่งเห็นได้ว่าไม่มีเจตนาให้ไถ่ถอนการขายฝากคดีเช่นนี้ย่อมไม่มีประเด็นเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝาก
2. ตามหลักฐาน คนหนึ่งเป็นผู้ให้กู้ แต่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความนั้นศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีนั้นให้กระทบกระเทือนคนนั้นหาชอบไม่
3. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินภายใน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก โจทก์จึงไม่ผิดสัญญา
4. เมื่อโจทก์ไม่ผิดสัญญาดังกล่าว และการที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทเพราะจำเลยยอมให้อาศัยอยู่ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
5. อนึ่ง ไม่มีข้อตกลงเรื่องให้ริบเงินที่ผ่อนชำระกันไว้ จำเลยก็ต้องคืนให้ จะริบไม่ได้
6. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 โจทก์ได้รับหนังสือของจำเลยเมื่อ 22 มีนาคม 2500 ให้ไถ่การขายฝากใน 1 เดือนนับแต่วันรับหนังสือ ก็คือ ให้ไถ่ถอนภายใน 22 เมษายน 2500 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 22 เมษายน 2501 ก็เป็นเวลา 1 ปีพอดี ไม่ขาดอายุความ
(ข้อ 1 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611 - 612/2506
1. เมื่อพิจารณาตามฟ้องและคำให้การ ไม่มีฝ่ายใดอ้างถึงเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝาก ซึ่งเห็นได้ว่าไม่มีเจตนาให้ไถ่ถอนการขายฝาก คดีเช่นนี้ย่อมไม่มีประเด็นเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝาก
2. ตามหลักฐาน คนหนึ่งเป็นผู้ให้กู้ แต่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความนั้น ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีนั้นให้กระทบกระเทือนคนนั้นหาชอบไม่
3. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินภายใน 6 เดือน นับแต่วันครบกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก โจทก์จึงไม่ผิดสัญญา
4. เมื่อโจทก์ไม่ผิดสัญญาดังกล่าว และการที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทเพราะจำเลยยอมให้อาศัยอยู่ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
5. อนึ่ง ไม่มีข้อตกลงเรื่องให้ริบเงินที่ผ่อนชำระกันไว้ จำเลยก็ต้องคืนให้ จะริบไม่ได้
6. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 โจทก์ได้รับหนังสือของจำเลยเมื่อ 22 มีนาคม 2500 ให้ไถ่การขายฝากใน 1 เดือนนับแต่วันรับหนังสือนี้ ก็คือ ให้ไถ่ภายใน 22 เมษายน 2500 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 22 เมษายน 2501 ก็เป็นเวลา 1 ปีพอดี ไม่ขาดอายุความ
(ข้อ 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 45/2505)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 87, ม. 142, ม. 183
ป.พ.พ. ม. 4914, ม. 492, ม. 494, ม. 495, ม. 502
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 87, ม. 142, ม. 183
ป.พ.พ. ม. 491, ม. 492, ม. 494, ม. 495, ม. 502


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2505
ขายฝากที่ดินและตึกแถวกันแล้ว แม้ผู้ขายฝากจะเอาตึกแถวไปให้คนอื่นเช่าในระหว่างขายฝากก็ตาม ถ้าได้ไถ่แล้วก็ต้องถือว่าทรัพย์นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายฝากดุจว่าไม่มีการขายฝากไว้เลย ฉะนั้นสัญญาเช่าที่ผู้ขายฝากทำไว้จึงไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 492, ม. 502
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที