Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 497 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 497 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 497” คืออะไร? 


“มาตรา 490” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 490 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้น จะพึงใช้ได้แต่บุคคลเหล่านี้ คือ
              (๑) ผู้ขายเดิม หรือทายาทของผู้ขายเดิม หรือ
              (๒) ผู้รับโอนสิทธินั้น หรือ
              (๓) บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 497” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 497 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15794/2555
จำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินให้ ย่อมทำให้นิติกรรมอันเกิดจากการแสดงเจตนาของโจทก์ในการทำสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคแรก เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อันมีผลเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกและให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ซึ่งมีความหมายรวมถึงสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2 โอนกลับคืนมาเป็นของโจทก์ด้วยผลของกฎหมาย เพราะสิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นโดยผลของสัญญาขายฝากซึ่งมีที่ดินทั้งสองแปลงเป็นวัตถุแห่งหนี้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่ทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 497 (2) จำเลยที่ 2 ต้องรับการไถ่เมื่อโจทก์นำเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่ไปขอใช้สิทธิไถ่ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมรับและโจทก์นำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก่อนพ้นกำหนดไถ่โดยมิได้สละสิทธิถอนทรัพย์ที่วางไว้ จำเลยที่ 2 จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินที่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากคืนแก่โจทก์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 497 (2)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2543
จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่ ภ. บิดาโจทก์ ระหว่างที่ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ ต่อมาจำเลยทำสัญญากับ ภ. ว่าไม่ประสงค์จะไถ่ถอนและขอสละสิทธิไถ่ถอน ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ภ. ถือได้ว่า เป็นการขายขาดที่ดินให้แก่ ภ. โดยทำสัญญากันเอง จึงไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่และภายในกำหนดระยะการขายฝาก จำเลยย่อมมีสิทธินำที่ดินไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 497 ได้กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่การขายฝากที่ดินดังกล่าวได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 453, ม. 491, ม. 497


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390 - 3391/2538
สัญญา ซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจาก สัญญาจะซื้อขายซึ่งมีการ วางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนแล้วต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดงเมื่อมีปัญหาว่าจำเลยที่1และที่2ชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94อีกทั้งสัญญาดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่1และที่2กับบริษัท บ.ซึ่งเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาเดิมในการจองซื้อขอให้โอนให้แก่จำเลยที่1และที่2ฉะนั้นผู้ที่จำเลยที่1และที่2จะยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างได้ก็เฉพาะกรณีที่ต่อสู้กับบริษัท บ.เท่านั้น โจทก์ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่1และที่2อีกฝ่ายหนึ่งทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินซึ่งกันและกันแต่ที่ดินและบ้านของจำเลยที่1และที่2นั้นจำเลยที่1และที่2ได้นำไปขายฝากไว้กับจำเลยที่3เมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา497(2)จำเลยที่3ต้องรับการไถ่เมื่อโจทก์มีเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่แต่จำเลยที่3ไม่ยอมรับโจทก์ได้นำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก่อนพ้นกำหนดไถ่จำเลยที่3จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 331, ม. 456 วรรคสอง, ม. 497 (2)
ป.วิ.พ. ม. 94
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที