Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 495 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 495 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 495” คืออะไร? 


“มาตรา 495” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 495 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าในสัญญามีกำหนดเวลาไถ่เกินไปกว่านั้น ท่านให้ลดลงมาเป็นสิบปีและสามปีตามประเภททรัพย์ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 495” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 495 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2507
โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยขายฝากเรือนพิพาท แต่เอกสารยินยอมอนุญาตให้ขายฝากมิได้ระบุถึงกำหนดระยะเวลาแห่งการขายฝากไว้จำเลยไปทำหนังสือสัญญาขายฝากมีกำหนด 1 ปีจึงมิใช่เป็นการกระทำเกินขอบเขตหนังสือยินยอมอนุญาตและการกำหนดระยะเวลาขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 495 ก็อนุญาตให้คู่กรณีตกลงกันได้เป็นแต่ไม่ให้กำหนดระยะเวลาเกินสิบปีหรือสามปีตามประเภทของทรัพย์เท่านั้น ฉะนั้น การกำหนดระยะเวลาขายฝากในกรณีนี้จึงไม่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือตกเป็นโมฆะ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 495


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611 - 612/2506
1. เมื่อพิจารณาตามฟ้องและคำให้การไม่มีฝ่ายใดอ้างถึงเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝากซึ่งเห็นได้ว่าไม่มีเจตนาให้ไถ่ถอนการขายฝากคดีเช่นนี้ย่อมไม่มีประเด็นเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝาก
2. ตามหลักฐาน คนหนึ่งเป็นผู้ให้กู้ แต่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความนั้นศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีนั้นให้กระทบกระเทือนคนนั้นหาชอบไม่
3. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินภายใน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก โจทก์จึงไม่ผิดสัญญา
4. เมื่อโจทก์ไม่ผิดสัญญาดังกล่าว และการที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทเพราะจำเลยยอมให้อาศัยอยู่ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
5. อนึ่ง ไม่มีข้อตกลงเรื่องให้ริบเงินที่ผ่อนชำระกันไว้ จำเลยก็ต้องคืนให้ จะริบไม่ได้
6. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 โจทก์ได้รับหนังสือของจำเลยเมื่อ 22 มีนาคม 2500 ให้ไถ่การขายฝากใน 1 เดือนนับแต่วันรับหนังสือ ก็คือ ให้ไถ่ถอนภายใน 22 เมษายน 2500 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 22 เมษายน 2501 ก็เป็นเวลา 1 ปีพอดี ไม่ขาดอายุความ
(ข้อ 1 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 87, ม. 142, ม. 183
ป.พ.พ. ม. 491, ม. 492, ม. 494, ม. 495, ม. 502


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611 - 612/2506
1. เมื่อพิจารณาตามฟ้องและคำให้การ ไม่มีฝ่ายใดอ้างถึงเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝาก ซึ่งเห็นได้ว่าไม่มีเจตนาให้ไถ่ถอนการขายฝาก คดีเช่นนี้ย่อมไม่มีประเด็นเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝาก
2. ตามหลักฐาน คนหนึ่งเป็นผู้ให้กู้ แต่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความนั้น ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีนั้นให้กระทบกระเทือนคนนั้นหาชอบไม่
3. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินภายใน 6 เดือน นับแต่วันครบกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก โจทก์จึงไม่ผิดสัญญา
4. เมื่อโจทก์ไม่ผิดสัญญาดังกล่าว และการที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทเพราะจำเลยยอมให้อาศัยอยู่ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
5. อนึ่ง ไม่มีข้อตกลงเรื่องให้ริบเงินที่ผ่อนชำระกันไว้ จำเลยก็ต้องคืนให้ จะริบไม่ได้
6. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 โจทก์ได้รับหนังสือของจำเลยเมื่อ 22 มีนาคม 2500 ให้ไถ่การขายฝากใน 1 เดือนนับแต่วันรับหนังสือนี้ ก็คือ ให้ไถ่ภายใน 22 เมษายน 2500 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 22 เมษายน 2501 ก็เป็นเวลา 1 ปีพอดี ไม่ขาดอายุความ
(ข้อ 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 45/2505)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 87, ม. 142, ม. 183
ป.พ.พ. ม. 4914, ม. 492, ม. 494, ม. 495, ม. 502
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที