Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 49 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 49 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 49” คืออะไร? 


“มาตรา 49” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 49 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่ผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป หรือปรากฏว่าตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปได้จัดการทรัพย์สินนั้นในลักษณะที่อาจเสียหายแก่บุคคลดังกล่าว ให้นำมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 49” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 49 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2538
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามข้อตกลงในคำร้องขอนำเรือเข้าท่าภายในอาณาบริเวณของโจทก์ที่จำเลยที่3ในฐานะตัวแทนจำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์โดยคำร้องดังกล่าวมีข้อความว่าข้าพเจ้ายอมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งเรือที่นำเข้าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพื่อนำเรือเข้ามาจอดซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่1ที่จะยอมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่เรือซัมเมอร์เบย์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งการแสดงเจตนาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่1และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164 จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลต่างประเทศมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยถือได้ว่าจำเลยที่1มีภูมิลำเนาประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา71การที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่1ในประเทศไทยและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2ให้ติดต่อกับโจทก์แทนจำเลยที่1ทำสัญญากับโจทก์แทนจำเลยที่1จึงไม่ใช่กรณีทำแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศอันจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824จำเลยที่2ที่3จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและการที่จำเลยที่2และจำเลยที่3เข้าทำการเกี่ยวข้องกับโจทก์เป็นการทำในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่1จำเลยที่2และจำเลยที่3จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 71 เดิม, ม. 69, ม. 112 เดิม, ม. 49, ม. 164 เดิม, ม. 193/30, ม. 820, ม. 824


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2535
บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนว่ามีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 8/3เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีใจความสำคัญว่าเนื่องจาก จำเลยที่ 1 ได้หยุดกิจการชั่วคราวไม่มีคนอยู่ หากมีเรื่องต้องแจ้งแก่จำเลยที่ 1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งไปยังเลขที่ 18 ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1ยื่นคำร้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าว เพราะจำเลยที่ 1มีความประสงค์ถือเอาสถานที่ตามคำร้องเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 49 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องแจ้งการขายทอดตลาดไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยที่ 1 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนาตามที่ปรากฏในทะเบียนหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ทั้งที่ได้รับคำร้องแจ้งภูมิลำเนาเฉพาะการก่อนหน้านั้นแล้ว จึงเป็นการแจ้งที่ไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่ามีการแจ้งการขายทอดตลาดแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 306 การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 49
ป.วิ.พ. ม. 306


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2535
แม้ผู้ร้องจะมีชื่อในทะเบียนบ้านเลขที่ 507/292 ก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องยังใช้บ้านเลขที่ 766/26 ซึ่งผู้ร้องเคยอยู่มาแล้วเดิมในการขอจดทะเบียนบริษัทลูกหนี้ก็ดี และใช้บ้านเลขที่ดังกล่าวปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ดี กรณีถือได้ว่าผู้ร้องเจตนาประสงค์ใช้บ้านเลขที่ 766/26 เป็นภูมิลำเนาของผู้ร้องแต่เฉพาะการในการจัดตั้งบริษัทลูกหนี้ และในการปฏิเสธหนี้ของบริษัทลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49 เดิม ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดสอบสวน หนังสือยืนยันหนี้ตลอดจนคำบังคับไปยังผู้ร้องที่บ้านเลขที่ 766/26 จึงชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 49
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที