Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 487 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 487 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 487” คืออะไร? 


“มาตรา 487” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 487 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  อันราคาทรัพย์สินที่ขายนั้นจะกำหนดลงไว้ในสัญญาก็ได้ หรือจะปล่อยไปให้กำหนดกันด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งดังได้ตกลงกันไว้ในสัญญานั้นก็ได้ หรือจะถือเอาตามทางการที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันอยู่นั้นก็ได้
              ถ้าราคามิได้มีกำหนดเด็ดขาดอย่างใดดังว่ามานั้นไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ราคาตามสมควร“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 487” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 487 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2554
สติกเกอร์พีวีซีใสกาวพิเศษที่ซื้อจากโจทก์เมื่อจำเลยนำไปผลิตชิ้นงานแล้วปรากฎว่าลอกแผ่นสติกเกอร์ไม่ออกเพราะเหตุกาวเหนียวเกินไป แม้โจทก์ใช้มือแกะสามารถลอกสติกเกอร์ออกได้ แต่ในการใช้งานของบริษัท ด. ต้องใช้เครื่องจักรเป็นตัวลอกสติกเกอร์ให้ติดกับกล่องนม เมื่อเครื่องจักรไม่สามารถลอกสติกเกอร์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยผลิตสติกเกอร์ไม่ดีหรือบริษัท ด. ติดตั้งเครื่องจักรไม่ได้มาตรฐาน จึงฟังได้ว่า สินค้าสติกเกอร์พีวีซีใสกาวพิเศษของโจทก์ชำรุดบกพร่องในลักษณะกาวเหนียวเกินไป เป็นเหตุให้เมื่อจำเลยนำไปใช้แล้วไม่เหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งใช้เป็นปกติ โจทก์ในฐานะผู้ขายสินค้าต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 วรรคแรก
ใบสั่งซื้อสินค้าที่จำเลยเป็นผู้สั่งซื้อทางโทรสารไปยังโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยสั่งซื้อสติกเกอร์ 15 ม้วน โดยให้ส่งภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2544 และยังมีคำสั่งว่า "อีก 67 ม้วนใหญ่ให้ส่งเดือนมกราคม 2545 แต่ยังไม่ต้องผลิตจะแจ้งอีกครั้งหนึ่ง" เห็นได้ว่าจำเลยสั่งซื้อสติกเกอร์จากโจทก์ 82 ม้วน โดยให้ส่งก่อน 15 ม้วน ส่วนที่เหลืออีก 67 ม้วน ให้โจทก์จัดเตรียมเพื่อที่จะส่งมอบให้ตามที่แจ้งต่อไป จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทสติกเกอร์จากโจทก์มานานหลายปีโดยไม่มีปัญหา ดังนั้น ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายโดยสภาพหรือโดยเจตนาของคู่สัญญา ย่อมไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 เนื่องจากใบสั่งซื้อและพฤติการณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดให้ชัดแจ้งและยืนยันให้เด็ดขาดว่า หากโจทก์ไม่ส่งสินค้าให้จำเลยภายในกำหนดให้ถือว่าใบสั่งซื้อดังกล่าวเป็นอันยกเลิกทันที ฉะนั้นการที่จำเลยจะใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยบอกปัดไม่ยอมรับสินค้าจึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติเช่นนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยกเลิกสัญญาโดยบอกปัดไม่ยอมรับสินค้าและชำระราคาได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนเวลาบังคับไว้แต่อย่างใด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 472 วรรคแรก, ม. 487, ม. 488


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2542
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยทั้งสองประกอบกิจการขายรถยนต์ โดยจำเลยที่ 2มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ไป แม้ตามสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์คันพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จะโอนเป็นของจำเลยที่ 1ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1ยังไม่ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 2 แม้แต่เพียงบางส่วนและจำเลยที่ 2 ผู้ขายก็มิได้กำหนดราคารถยนต์ที่ขายหรือตกลงกันในสัญญาว่า ให้กำหนดกันด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 487 และมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระราคารถยนต์ดังกล่าวไว้ด้วยย่อมเห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายกันตามปกติ การที่จำเลยที่ 2ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไปพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผุ้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาซื้อขายและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทพร้อมมอบสมุดจดทะเบียนให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 2ไม่ดำเนินการศาลย่อมพิพากษาให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 213, ม. 487, ม. 821


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2542
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยทั้งสองประกอบกิจการขายรถยนต์ โดยจำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ไป แม้ตามสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์คันพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จะโอนเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 2 แม้แต่เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 ผู้ขายก็มิได้กำหนดราคารถยนต์ที่ขายหรือตกลงกันในสัญญาว่า ให้กำหนดกันด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 487 และมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระราคารถยนต์ดังกล่าวไว้ด้วย ย่อมเห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายกันตามปกติ การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไปพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาซื้อขายและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทพร้อมมอบสมุดจดทะเบียนให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการศาลย่อมพิพากษาให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 213, ม. 487, ม. 821
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที