Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 486 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 486 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 486” คืออะไร? 


“มาตรา 486” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 486 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ซื้อจำต้องรับมอบทรัพย์สินที่ตนได้รับซื้อและใช้ราคาตามข้อสัญญาซื้อขาย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 486” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 486 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8635/2550
ในการดำเนินการจัดซื้อกิ่งพันธุ์ลำไยจำเลยได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุไว้ ซึ่งมี ก. เป็นประธานกรรมการ แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นการบริหารกิจการภายในซึ่งเป็นเรื่องของจำเลย ทั้งตามสัญญาซื้อขายก็มิได้มีข้อตกลงว่าการรับมอบสิ่งของจะต้องกระทำโดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุที่จำเลยแต่งตั้งไว้ คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ การที่โจทก์นำกิ่งพันธุ์ลำไยไปส่งมอบให้จำเลยภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาโดย น. และ ก. ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารและกรรมการบริหารของจำเลยตามลำดับได้รับมอบกิ่งพันธุ์ลำไยจากโจทก์ไว้แล้วให้โจทก์นำไปส่งมอบให้ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านต่างๆ ตามหลักฐานการส่งมอบกิ่งพันธุ์ลำไย เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้รับมอบกิ่งพันธุ์ลำไยจากโจทก์ไว้แล้วโดยมิได้โต้แย้งว่ากิ่งพันธุ์ลำไยไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องตามสัญญา
หลักฐานการส่งมอบกิ่งพันธุ์ลำไยซึ่ง น. และ ก. ได้ลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการส่งมอบพัสดุมีข้อความระบุว่า คณะกรรมการส่งมอบพัสดุได้ส่งมอบกิ่งพันธุ์ลำไยให้แก่ผู้ใหญ่บ้านต่างๆ เพื่อจะได้ส่งมอบให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านของตนต่อไป ข้อความดังกล่าวบ่งชี้ว่าจำเลยได้ตรวจและรับมอบกิ่งพันธุ์ลำไยไว้เรียบร้อยแล้ว มิใช่เพียงแต่รับมอบไว้เพื่อให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุทำการตรวจรับ เมื่อจำเลยได้รับมอบกิ่งพันธุ์ลำไยจากโจทก์โดยถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินประกันของโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 386, ม. 473, ม. 486


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2546
จำเลยผู้ซื้อได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ผู้ขายขอคืนผ้าแต่โจทก์ไม่ได้ทำคำสนองรับเพียงแต่โจทก์ให้จำเลยช่วยขายผ้าให้บุคคลอื่น โจทก์จะรับผ้าคืนก็ต่อเมื่อมีบุคคลหรือลูกค้าอื่นรับซื้อผ้าไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อโจทก์ขายผ้าได้บางส่วนจึงให้พนักงานของโจทก์มารับผ้าไปจากจำเลย ก็ไม่ได้หมายความว่า โจทก์รับคืนผ้าทั้งหมดเพียงแต่ตกลงกันว่าโจทก์จะรับผ้าไปเมื่อขายผ้าได้บางส่วนเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์ช่วยจำเลยขายผ้าส่วนที่เหลือ ไม่ได้ตกลงยินยอมรับคืนผ้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าผ้าที่เหลือให้แก่โจทก์
การที่จำเลยไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้เนื่องจากบริษัท ธ. ผู้ซื้อผ้าจากจำเลยมีปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลย ก็เป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้าประสบปัญหากำไรหรือขาดทุนอันเป็นปกติทางการค้าย่อมเกิดขึ้นได้เสมอไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 8, ม. 219 วรรคหนึ่ง, ม. 453, ม. 486


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2546
เมื่อโจทก์ชำระราคารถจักรยานยนต์จำนวน 52 คัน ให้แก่ ส. ตัวแทนของจำเลยแล้ว จำเลยในฐานะตัวการย่อมมีความผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอัน ส. ตัวแทนได้ทำไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคารถจักรยานยนต์จำนวน 52 คัน ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวการแล้วตามกฎหมาย แม้ ส. จะยังไม่ได้ส่งมอบเงินค่ารถจักรยานยนต์ให้แก่จำเลยก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยซึ่งเป็นตัวการจะไปว่ากล่าวไล่เบี้ยเอาจาก ส. ซึ่งเป็นตัวแทนของตนโจทก์จึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดส่งเอกสารให้แก่โจทก์ เพื่อโจทก์จะได้นำไปใช้ประกอบในการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดสัญญา ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 486, ม. 820
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที