Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 483 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 483 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 483” คืออะไร?

 
“มาตรา 483” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 483 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ คู่สัญญาซื้อขายจะตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 483” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 483 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17002/2555
การผุกร่อนของเหล็กเส้นที่ถูกสนิมกัดกินคานบ้านเป็นความชำรุดบกพร่องที่เป็นเหตุเสื่อมราคาและเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ เมื่อโจทก์ซื้อบ้านเพื่อจะใช้อยู่อาศัยและคู่สัญญาซื้อขายไม่ได้ตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 483 ความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเป็นความชำรุดบกพร่องที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 472
แม้ก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้แก่โจทก์นั้น โจทก์ได้เข้าไปตรวจดูบ้านถึง 4 ครั้ง กับใช้กล้องวิดีโอถ่ายสภาพบ้านนำไปให้ญาติของโจทก์ช่วยกันพิจารณาสภาพบ้านด้วยก็ตาม แต่ในส่วนโครงเหล็กของคานชั้น 2 อยู่บริเวณเหนือฝ้า การจะตรวจดูต้องทุบแล้วรื้อฝ้าออกจึงจะพบเห็น ไม่ใช่กรณีที่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบและโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์รับเอาบ้านไว้โดยมิได้อิดเอื้อน ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ขอเปิดฝ้าเพื่อตรวจดูคานนั้น ก็เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่ไม่น่าจะคาดคิดว่าคานบ้านชั้น 2 ซึ่งไม่ได้อยู่ใกล้พื้นดินหรือความชื้นจะเกิดสนิมที่เหล็กเส้นจนผุกร่อน จนต้องขอเปิดฝ้าดูเพื่อตรวจสอบ กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน อันจะทำให้จำเลยทั้งสองผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องในกรณีดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 473 (1) และ (2)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 472, ม. 473 (1), ม. 473 (2), ม. 483


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2525
ศาลมีคำสั่งให้บริษัทจำเลยเลิกกิจการ จำเลยได้ขายทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ โดยให้ผู้ซื้อประมูลราคา โจทก์ได้ซื้ออ่างอาบน้ำจากจำเลย และได้ชำระราคาแล้ว จำเลยออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์ ด้านหลังใบเสร็จรับเงินได้หมายเหตุไว้ว่า'แตกร้าวคืนเงินภายหลัง' เช่นนี้เป็นการขายอ่างอาบน้ำโดยมีเงื่อนไขรับผิดชอบเพื่อความชำรุดบกพร่อง เฉพาะที่แตกหรือร้าวเท่านั้น ไม่รวมถึงรอยสีถลอกหรือมีสนิมขึ้น เมื่ออ่างอาบน้ำมีแต่เพียงรอยถลอกและสนิมขึ้น ไม่มีรอยแตกร้าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งเงินคืนตามราคาหรือใช้ค่าเสียหายได้ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 มาใช้บังคับในกรณี นี้หาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 472, ม. 483


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2525
ศาลมีคำสั่งให้บริษัทจำเลยเลิกกิจการ จำเลยได้ขายทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ โดยให้ผู้ซื้อประมูลราคา โจทก์ได้ซื้ออ่างอาบน้ำจากจำเลย และได้ชำระราคาแล้ว จำเลยออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์ ด้านหลังใบเสร็จรับเงินได้หมายเหตุไว้ว่า"แตกร้าวคืนเงินภายหลัง" เช่นนี้เป็นการขายอ่างอาบน้ำโดยมีเงื่อนไขรับผิดชอบเพื่อความชำรุดบกพร่อง เฉพาะที่แตกหรือร้าวเท่านั้น ไม่รวมถึงรอยสีถลอกหรือมีสนิมขึ้น เมื่ออ่างอาบน้ำมีแต่เพียงรอยถลอกและสนิมขึ้น ไม่มีรอยแตกร้าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งเงินคืนตามราคาหรือใช้ค่าเสียหายได้ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 472 มาใช้บังคับในกรณีนี้หาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 472, ม. 483
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที