Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 479 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 479 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 479” คืออะไร? 


“มาตรา 479” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 479 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าทรัพย์สินซึ่งซื้อขายกันหลุดไปจากผู้ซื้อทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เพราะเหตุการรอนสิทธิก็ดี หรือว่าทรัพย์สินนั้นตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคา หรือเสื่อมความเหมาะสมแก่การที่จะใช้ หรือเสื่อมความสะดวกในการใช้สอย หรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้น และซึ่งผู้ซื้อหาได้รู้ในเวลาซื้อขายไม่ก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 479” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 479 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16897/2557
โจทก์เสียสิทธิในที่ดินทั้งสองแปลงไปเพราะถูกศาลพิพากษาเพิกถอนการโอนขายเพื่อให้กลับสู่กองทรัพย์สินของพันจ่าอากาศเอกหญิง น. ในคดีล้มละลายเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 (เดิม) ไม่ใช่กรณีที่โจทก์เพียงถูกก่อการรบกวนขัดสิทธิในอันที่จะครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุขตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 และ 476 แต่เป็นกรณีที่ที่ดินทั้งสองแปลงหลุดไปจากโจทก์ทั้งหมดเพราะการรอนสิทธิตามมาตรา 479 ซึ่งบัญญัติว่า "ถ้าทรัพย์สินซึ่งซื้อขายกันหลุดไปจากผู้ซื้อทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพราะเหตุการรอนสิทธิ... และซึ่งผู้ซื้อหาได้รู้ในเวลาซื้อขายไม่ก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด" ดังนั้น จำเลยที่ 1 หรือจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ข้อเท็จจริงต้องปรากฏว่าในเวลาที่ทำสัญญาซื้อขายโจทก์รู้หรือไม่ว่าเหตุรอนสิทธินั้นมีอยู่แล้ว จากพยานหลักฐานน่าเชื่อว่า โจทก์โดยกรรมการของโจทก์ ก็ได้รับรู้ข่าวเกี่ยวกับแชร์น้ำมันของพันจ่าอากาศเอกหญิง น. ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงในขณะซื้อขายว่าที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 รับโอนมาโดยไม่ชอบและอาจถูกเพิกถอนได้ แต่โจทก์ก็สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงจนรู้ได้เองอยู่แล้ว การที่จำเลยที่ 1 นิ่งเสียเช่นนั้นไม่ใช่กรณีที่จะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 162 จำเลยที่ 1 หรือจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 479
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 162, ม. 475, ม. 476, ม. 479
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 115 (เดิม)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2548
ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่าง ฉ. กับจำเลยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2516 และการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2531 อันมีผลให้โจทก์ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่ ฉ. เจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริง ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปกติสุขเพราะ ฉ. มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนรับซื้อฝากโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แต่โจทก์ก็รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้คืนพิพาทให้แก่เจ้าของที่แท้จริงไปแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์จึงถูกรอนสิทธิซึ่งจำเลยผู้ขายมีหน้าที่ต้องรับผิดในผลแห่งการรอนสิทธินั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475
ที่ดินพิพาทได้หลุดไปจากโจทก์เพราะการรอนสิทธิ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์คือราคาค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้ว อันเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์เสียหายไปจริง ส่วนการที่โจทก์ไม่สามารถขายที่ดินพิพาทให้บุคคลภายนอกได้เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์จึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่ต้องเสียหายไปตามความจริง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เฉพาะขาดอายุความเรื่องการรอนสิทธิเท่านั้น การกล่างอ้างเรื่องขาดอายุความฐานลาภมิควรได้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 475, ม. 479
ป.วิ.พ. ม. 249


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2548
การที่ศาลฎีกาในคดีก่อนพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการฝากขายที่ดินและนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทอันมีผลให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริง กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริงมารบกวนสิทธิของโจทก์ทั้งสองผู้ซื้อให้จำต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่เจ้าของที่ดินที่แท้จริงตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ทั้งสองจึงถูกรอนสิทธิซึ่งจำเลยผู้ขายมีหน้าที่ต้องรับผิดในผลแห่งการรอนสิทธินั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อที่ดินพิพาทได้หลุดไปจากโจทก์ทั้งสองผู้ซื้อ จำเลยผู้ขายจึงต้องรับผิดชำระราคาที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ทั้งสองตามมาตรา 479 ดังนั้น ค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดคือราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระแก่จำเลยไปแล้วอันเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองเสียหายไปจริง แต่ในส่วนค่าเสียหายที่เกิดจากการไม่สามารถขายที่ดินพิพาทได้นั้น เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ทั้งสองเอง หาใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองต้องเสียหายไปตามความจริงไม่ ทั้งนี้ โจทก์ทั้งสองได้เกิดสิทธิเรียกร้องในเงินค่าที่ดินพิพาทเอาจากจำเลยนับแต่วันที่โจทก์ทั้งสองทราบคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว อนึ่งจำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เฉพาะเรื่องขาดอายุความฟ้องร้องเรื่องการรอนสิทธิเท่านั้น การกล่าวอ้างเรื่องขาดอายุความฐานลาภมิควรได้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 475, ม. 479
ป.วิ.พ. ม. 225 วรรคหนึ่ง, ม. 249 วรรคหนึ่ง
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที