Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 470 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 470 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 470” คืออะไร? 


“มาตรา 470” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 470 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าผู้ซื้อผิดนัด ผู้ขายซึ่งได้ยึดหน่วงทรัพย์สินไว้ตามมาตราทั้งหลายที่กล่าวมา อาจจะใช้ทางแก้ต่อไปนี้แทนทางแก้สามัญในการไม่ชำระหนี้ได้ คือมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้ซื้อให้ใช้ราคากับทั้งค่าจับจ่ายเกี่ยวการภายในเวลาอันควรซึ่งต้องกำหนดลงไว้ในคำบอกกล่าวนั้นด้วย
              ถ้าผู้ซื้อละเลยเสียไม่ทำตามคำบอกกล่าว ผู้ขายอาจนำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 470” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 470 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2536
สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทมีเงื่อนไขระบุว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบถ้วนตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายย่อมใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 และในสัญญาซื้อขายระบุว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาตามงวด ผู้ขายมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์พิพาทและย่อมมีสิทธิขายทอดตลาดได้ด้วยและเมื่อขายแล้วได้เงินไม่พอ ผู้ซื้อยอมชดใช้เงินจำนวนที่ขาดอยู่ เมื่อผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาและผู้ขายดำเนินการเอารถยนต์พิพาทออกขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 470 และ 471แล้ว ยังขาดเงินอีก 55,260 บาท ผู้ซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิด เพราะถือว่าเป็นเงินราคารถยนต์พิพาทที่ขาดอยู่ และเงินจำนวนดังกล่าวนี้ไม่มีข้อใดในสัญญากำหนดให้ถือเป็นค่าเสียหายจึงมิใช่เบี้ยปรับ สัญญาซื้อขายข้อ 6 วรรคสองระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดต่าง ๆ ตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ใด ๆ ในสัญญานี้ ผู้ซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขายอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เงินจำนวน 55,260 บาท ซึ่งเป็นเงินราคารถยนต์พิพาทที่ขาดอยู่ก็คือเงินงวดต่าง ๆ ที่เกิดจากการที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระให้โจทก์ตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาผู้ขายจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากผู้ซื้อได้ตามสัญญา
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 224 วรรคแรก, ม. 380, ม. 459, ม. 470, ม. 471


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2509
โจทก์บรรยายข้อเรียกร้องมาในฟ้อง ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากจำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์ โดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิจะอ้างได้ตามกฎหมายในคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา โดยบรรยายข้อเท็จจริงเข้ามาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยละเอียดพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้ดี ฟ้องของโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยที่ 1 เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองบ้านพิพาทต่อไปภายหลังเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หาเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่บ้านพิพาทโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหายที่เกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจำเลยที่ 1(อ้างฎีกาที่ 1273/2501)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 163, ม. 470, ม. 448, ม. 563
ป.วิ.พ. ม. 172


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2509
โจทก์บรรยายข้อเรียกร้องมาในฟ้อง ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากจำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์โดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิจะอ้างได้ตามกฎหมาย ในคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาโดยบรรยายข้อเท็จจริงเข้ามาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น โดยละเอียดพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้ดี ฟ้องของโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยที่ 1 เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองบ้านพิพาทต่อไปภายหลังเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หาเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่บ้านพิพาท โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหายที่เกินกว่า 1 ปีขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจำเลยที่ 1 (อ้างฎีกาที่ 1273/2500)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 163, ม. 470, ม. 448, ม. 563
ป.วิ.พ. ม. 172
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที