Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 463 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 463 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 463” คืออะไร? 


“มาตรา 463” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 463 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าในสัญญากำหนดว่าให้ส่งทรัพย์สินซึ่งขายนั้นจากที่แห่งหนึ่งไปถึงอีกแห่งหนึ่งไซร้ ท่านว่าการส่งมอบย่อมสำเร็จเมื่อได้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขนส่ง “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 463” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 463 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2541
มาตรา 78 เบญจ และมาตรา 79 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้ เป็นบทบัญญัติในหมวดภาษีการค้าที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ แก่การจัดเก็บและชำระภาษีการค้าเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้ เพราะหลักการเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกันโดยภาษีการค้าเรียกเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่ายส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณจากรายได้ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และในมาตรา 65 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิว่าให้ใช้หลักเกณฑ์สิทธิสำหรับยอดขายสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าไปต่างประเทศการที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของชนิดปริมาณ และราคาสินค้า แสดงว่า โจทก์ได้กำหนด คัด เลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขาย เป็นการแน่นอนแล้ว และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 และ463 ทั้งกรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453,458 และ 460 ดังนั้น การที่โจทก์ลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าหรือบันทึกยอดขายสินค้าพิพาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2533ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับใบกำกับสินค้าและใบตราส่ง ถือได้ว่าเป็นการ รับรู้รายได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิแล้ว ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลา บัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,250,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาทหากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาทหักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้วผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12 บาทการที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 453, ม. 458, ม. 460, ม. 461, ม. 463
ป.รัษฎากร ม. 65, ม. 78 เบญจ เดิม (2), ม. 79 ทวิ เดิม (2)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2541
มาตรา 78 เบญจ และมาตรา 79 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้เป็นบทบัญญัติในหมวดภาษีการค้าที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บและชำระภาษีการค้าเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้ เพราะหลักการเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน โดยภาษีการค้าเรียกเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่าย ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งคำนวณจากรายได้ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และในมาตรา 65 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิว่าให้ใช้หลักเกณฑ์สิทธิ สำหรับยอดขายสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าไปต่างประเทศ การที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของชนิด ปริมาณ และราคาสินค้า แสดงว่า โจทก์ได้กำหนด คัดเลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นการแน่นอนแล้ว และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 461 และ 463 ทั้งกรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตามป.พ.พ.มาตรา 453, 458 และ 460 ดังนั้น การที่โจทก์ลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าหรือบันทึกยอดขายสินค้าพิพาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับใบกำกับสินค้าและใบตราส่ง ถือได้ว่าเป็นการรับรู้รายได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิแล้ว
ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,350,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาท หากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาท หักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้ว ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12บาท การที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 453, ม. 458, ม. 460, ม. 461, ม. 463
ป.รัษฎากร ม. 65, ม. 78 เบญจ (2, ม. 79 ทวิ (2)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2526
ฟ้องของโจทก์แปลได้ว่าโจทก์ซื้อวิทยุแล้วมอบให้ผู้ขายเป็นตัวแทนนำเอาวิทยุไปให้จำเลยทำการขนส่งไปให้โจทก์และในทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าที่ผู้ขายกระทำไปนั้นเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าขนส่งเอง ผู้ขายจึงเป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาขนส่งวิทยุกับจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นตัวการจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับขนได้

เหตุสุดวิสัยนั้นต้องเป็นเหตุผิดปกติสุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้น หากเป็นกรณีที่อาจป้องกันผลพิบัติได้ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็มิใช่เหตุที่จะป้องกันไม่ได้ จำเลยรับขนวิทยุไปให้โจทก์โดยบรรทุกมาในรถ ถ้าหากลูกจ้างของจำเลยใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลสินค้าที่บรรทุกมาในระหว่างจอดพักรถ คนร้ายก็จะไม่สามารถขโมยเอาวิทยุไปได้จึงอยู่ในวิสัยที่จะป้องกันได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 374 วรรคสอง, ม. 463, ม. 616, ม. 627, ม. 797, ม. 820
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที