Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 462 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 462 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 462” คืออะไร? 


“มาตรา 462” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 462 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การส่งมอบนั้นจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้สุดแต่ว่าเป็นผลให้ทรัพย์สินนั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 462” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 462 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147 - 148/2544
โจทก์ที่ 1 ได้ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากจำเลยตามสัญญาซื้อขายชุมสายเทเล็กซ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 และโจทก์ทั้งสองได้มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยทราบโดยชอบแล้วอันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 1 ในการรับเงินจากจำเลยจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 2 ตั้งแต่นั้น โจทก์ที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินดังกล่าวจากจำเลยอีกต่อไป การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยได้จ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายฯ ให้แก่โจทก์ที่ 1 ภายหลังการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วซึ่งไม่ถูกต้องนั้น ไม่ใช่เหตุที่จะให้ถือว่าไม่ได้เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน
โจทก์ที่ 1 ส่งมอบม้วนเทปตามสำเนาใบส่งของในวันสุดท้ายของสัญญาซื้อขายฯ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่าได้ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วและกำหนดวิธีการตรวจรับขึ้นโดยไม่ให้ใช้ม้วนเทปที่ส่งมอบมาทำการตรวจรับและทดลองเพื่อถ่วงเวลาออกไปให้มีเวลาในการสร้างอุปกรณ์ชุมสายซอฟแวร์ที่ใช้งานได้ผลตามความมุ่งหมายของสัญญาซื้อขายฯ ที่โจทก์ที่ 1 นำม้วนซอฟแวร์หลายม้วนมาทดสอบหลายครั้งเป็นเวลากว่า 1 ปี ทำให้เชื่อว่าม้วนซอฟแวร์เหล่านั้นไม่ได้อัดสำเนามาจากม้วนเทปที่โจทก์ที่ 1 ส่งมอบให้แก่จำเลยและการที่โจทก์ที่ 1 ไม่ยอมดำเนินการเพื่อให้มีการพิสูจน์ให้เห็นว่าม้วนเทปที่โจทก์ที่ 1 ส่งมอบไว้แก่จำเลยนั้นได้บรรจุข้อมูลรายการซอฟแวร์ที่สามารถสั่งการให้ระบบชุมสายเทเล็กซ์ทั้งหมดทำงานได้ตามสัญญาซื้อขายฯ ทำให้เชื่อว่าม้วนเทปที่โจทก์ที่ 1 ส่งมอบไว้แก่จำเลยนั้นไม่อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ทันทีและได้สมความมุ่งหมายเรียบร้อยทุกประการตามสัญญาซื้อขายฯ โจทก์ที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญาซื้อขายฯ ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อโจทก์ที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายฯไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลา จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาตามสัญญาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยจึงมีสิทธิที่จะเรียกให้โจทก์ที่ 2 ผู้ค้ำประกันโจทก์ที่ 1 ต่อจำเลยชำระหนี้ได้แต่นั้นตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่จำเลยอาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์ที่ 2 ได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันต่อจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/12, ม. 303, ม. 306, ม. 461, ม. 462


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2537
เกี่ยวกับความรับผิดของผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 562 นั้น หากความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่ามิใช่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินโดยมิชอบ และมิใช่เป็นการกระทำของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วงผู้เช่าก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่า ส่วนข้อตกลงรับผิดนอกเหนือจากนี้ที่มีระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าเป็นเรื่องที่บังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เช่าในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่าจากบุคคลภายนอกผู้ทำละเมิดไม่ บุคคลที่ต้องเสียหายและมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดต่อเรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 คือเจ้าของเรือ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าเรือดังกล่าวมาทำการรับขน จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่เรืออันมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรับขนได้ก็แต่โดยอาศัยการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226,227
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 226, ม. 227, ม. 420, ม. 462


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2535
ป. ขายรถยนต์ของกลางให้จำเลยที่ 1 แต่ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์การที่ ป. กับจำเลยที่ 1 ไปทำคำเสนอใช้บริการของผู้ร้องโดยให้ผู้ร้องตกลงชำระราคารถยนต์ของกลางให้แก่ ป. และให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของกลางจากผู้ร้อง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ป. ตกลงขายรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 แม้ผู้ร้องจะมิได้ครอบครองรถยนต์ของกลางเลยก็ถือได้ว่าเป็นการส่งมอบกันโดยปริยาย กรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางตกเป็นของผู้ร้องในทันทีที่ตกลงซื้อขายกัน แม้จะจดทะเบียนโอนกันในภายหลังการซื้อขายก็สมบูรณ์เพราะใบคู่มือการจดทะเบียนมิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจเงินทุนลงทุนในกิจการต่าง ๆ รวมทั้งการให้เช่าซื้อ มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการค้าไม้ อันเป็นเหตุให้มีการจับกุมจำเลยที่ 1 มาดำเนินคดีแต่อย่างใด เมื่อไม่ปรากฏว่ามีพนักงานของผู้ร่วมร้องในการกระทำความผิดด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ต้องคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 36
ป.พ.พ. ม. 453, ม. 458, ม. 462, ม. 572
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที