Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 46 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 46 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 46” คืออะไร? 


“มาตรา 46” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 46 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ภูมิลำเนาของข้าราชการ ได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ หากมิใช่เป็นตำแหน่งหน้าที่ชั่วคราวชั่วระยะเวลาหรือเป็นเพียงแต่งตั้งไปเฉพาะการครั้งเดียวคราวเดียว “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 46” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 46 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2552
โจทก์รับราชการตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง สถานที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์คือ วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงวิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงจึงเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ ซึ่งเป็นข้าราชการตาม ป.พ.พ. มาตรา 46
ผู้อำนวยการกองการศึกษาอาชีพมีหนังสือถึงโจทก์ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมกับแนบหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของจำเลยที่ 2 อันมีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ไปให้โจทก์ทราบด้วย หนังสือดังกล่าวได้ส่งถึงวิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรงเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับหนังสือไว้แทนโจทก์ และได้ทำบันทึกนำเสนอโจทก์พร้อมลงวันที่กำกับในวันเดียวกัน โจทก์ไม่นำสืบว่าวันนั้นโจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือตามที่เจ้าหน้าที่เสนอ และไม่นำสืบว่าเหตุใดจึงเพิ่งเกษียณส่งหนังสือในวันที่ 2 มีนาคม 2542 แม้โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบและสั่งการให้ดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงในวันที่ 2 มีนาคม 2542 ก็เป็นวิธีการดำเนินการตามระบบราชการเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 และโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันเดียวกัน คดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์และฟ้องคดีนี้ภายใน 3 เดือน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 46
ป.อ. ม. 96


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7270/2547
การที่ทนายจำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา แม้ยังต้องถือว่าทนายจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้ว เพราะเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ มิใช่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเพียงถิ่นอันเป็นที่ทำการชั่วคราว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 46 ก็ตาม แต่คำร้องของทนายจำเลยอ้างด้วยว่า เจ้าพนักงานศาลให้ นาย อ. พนักงานอัยการสำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วรับหมายนัดไว้แทนทนายจำเลย ในขณะที่นาย อ. ไปที่ศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานศาลมิได้ไปส่งหมายนัดที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้ว หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องของทนายจำเลยดังกล่าว การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่ทนายจำเลยย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมาย ณ ภูมิลำเนาของทนายจำเลยและมีผู้รับแทนโดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง หรือเป็นการส่งคำคู่ความที่ได้กระทำในศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 77 (2) ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนให้ได้ความว่าเจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นแก่ทนายจำเลย และนาย อ. รับไว้แทนที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วหรือไม่ ก่อนมีคำสั่งยกคำร้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 46
ป.วิ.พ. ม. 76, ม. 77


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2516
โจทก์มีสัญชาติออสเตรเลีย จำเลยมีสัญชาติอเมริกัน ได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายที่ประเทศไทย แต่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขอหย่ากับจำเลยนั้น ปรากฏว่าจำเลยได้ออกจากประเทศไทยไปก่อนแล้ว และไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศอีก ทั้งปรากฏว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนี้ จำเลยย่อมมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไม่ได้เสียแล้ว
เมื่อจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย โจทก์ก็ฟ้องคดีขอหย่ากับจำเลยต่อศาลแห่งประเทศไทยไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 4 (2)
ป.พ.พ. ม. 44, ม. 46, ม. 50
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที