Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 453 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 453” คืออะไร? 


“มาตรา 453” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 453 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย “

“ทำความรู้จักการผิดสัญญาซื้อขาย” >  อ่านได้ที่นี่

ทนายเราได้ให้คำปรึกษาจริงเรื่อง "ซื้อขาย" ทั้งหมด "194" ครั้ง

และ เรารวบรวมข้อมูลเรื่อง "ซื้อขาย" บทความและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีบริการปรึกษาทนาย 24ชม.


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 453” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 453 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2563
หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 19 กันยายน 2554 เรื่องการคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรก ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่อนุมัติหลักการและแนวทางในการคืนเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์ใหม่คันแรกกำหนดว่า ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการต้องเป็นการซื้อรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 โดยมิได้ระบุถึงการจองรถยนต์ไว้ด้วย การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ให้ขยายเวลาส่งมอบรถยนต์และยื่นเอกสารสำหรับโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกโดยบันทึกข้อความของสำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2 ส่วนมาตรฐานฯ 3 เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเอกสารใบจองรถยนต์เพื่อการขอใช้สิทธิรถยนต์คันแรกระบุว่า ผู้ขอใช้สิทธิต้องซื้อหรือจองรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 แต่ไม่สามารถรับมอบรถยนต์หรือไม่สามารถจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกได้ทันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และไม่สามารถยื่นเอกสารหลักฐานได้ภายในวันสิ้นสุดโครงการ สามารถนำใบจองมาขอใช้สิทธิตามโครงการรถยนต์คันแรกได้ แสดงว่าผู้ขอใช้สิทธิตามโครงการที่จองรถยนต์ไว้แล้วยังจะต้องซื้อหรือทำสัญญาเช่าซื้อกับผู้ให้เช่าซื้อต่อไปอีกจึงจะมีสิทธิได้รับเงินคืนการที่จำเลยจองรถยนต์กับบริษัท ต. ผู้จำหน่ายรถยนต์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ก่อนคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการและแนวทางในการคืนเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์ใหม่คันแรก เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 มิใช่เป็นการจองซื้อรถยนต์จากบริษัท ต. ผู้จำหน่ายรถยนต์โดยตรง หากแต่เป็นการจองเพื่อนำรถยนต์ไปทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท ล. ผู้ให้เช่าซื้อ โดยบริษัท ล. เป็นผู้ชำระราคารถยนต์ส่วนที่เหลือแก่บริษัท ต. จนครบถ้วนแล้วนำหลักฐานการซื้อขายรถยนต์ที่ออกโดยบริษัท ต. ไปจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัท ล. จากนั้นจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท ล. เจ้าของรถยนต์ จำเลยจึงเป็นเพียงผู้จองรถยนต์เพื่อนำรถยนต์ไปทำสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น หาใช่เป็นผู้ซื้อรถยนต์จากบริษัท ต. โดยตรงไม่ จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยจองรถยนต์เป็นการตกลงซื้อขายรถยนต์ที่สมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อรถยนต์ตามมติคณะรัฐมนตรีในโครงการรถยนต์คันแรก เมื่อจำเลยได้รับมอบรถยนต์ที่จองในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 และทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 จึงเป็นการเช่าซื้อรถยนต์ภายในระยะเวลาของโครงการ จำเลยย่อมมีสิทธิขอรับเงินค่าภาษีสรรพสามิตที่จ่ายไปคืนตามมติคณะรัฐมนตรี การใช้สิทธิขอรับเงินของจำเลยมิได้ผิดเงื่อนไขอันจะต้องคืนเงินให้แก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 453, ม. 572


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11115/2558
ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีก่อนให้จำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์ตามสัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไขคืนแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน พร้อมทั้งให้ชำระค่าเสียหายและชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ จำเลยทั้งสามได้ส่งมอบรถยนต์คืนพร้อมชำระค่าเสียหายกับค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดีแก่โจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อรถยนต์มีสภาพชำรุดและโจทก์นำออกขายทอดตลาดได้ราคาไม่ครบถ้วนตามราคารถยนต์ที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสามรับผิดชดใช้ราคารถยนต์ส่วนที่ยังขาดจำนวนอยู่ได้ เนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนไปแล้ว ทั้งมิใช่กรณีที่จะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ เนื่องจากการบังคับคดีจำต้องอาศัยคำพิพากษาที่วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ใดบ้าง กรณีจึงไม่อาจนำมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังศาลมีคำพิพากษาไปบังคับคดีเอากับจำเลยทั้งสามในคดีดังกล่าว ดังนั้นคำพิพากษาในคดีนี้จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนและเกิดขึ้นภายหลังศาลในคดีก่อนพิพากษาไปแล้ว หาใช่ค่าเสียหายที่กำหนดซ้ำซ้อนกันแต่อย่างใด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 215, ม. 453
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 271


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2558
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาซื้อที่ดินพร้อมบ้านจากจำเลย แต่เมื่อตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้วปรากฏว่า บ้านปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของผู้อื่นบางส่วน เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยและขอให้จำเลยคืนเงิน แต่จำเลยไม่คืนเงินให้ ถือได้ว่าโจทก์มีข้อโต้แย้งสิทธิกับจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงรับฟังว่า บ้านพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยตั้งอยู่บนที่ดินที่ซื้อบางส่วนและบางส่วนตั้งอยู่บนที่ดินของผู้อื่น กรณีถือได้ว่าโจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน ตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ หากมิได้มีความสำคัญผิดการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น สัญญาซื้อขายจึงตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 โจทก์มีสิทธิบอกล้างโดยการแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55
ป.พ.พ. ม. 157, ม. 453
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที