Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 452 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 452 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 452” คืออะไร? 


“มาตรา 452” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 452 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่นอันเข้ามาทำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์นั้น และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้ และถ้าเป็นการจำเป็นโดยพฤติการณ์แม้จะฆ่าสัตว์นั้นเสียก็ชอบที่จะทำได้
              แต่ว่าผู้นั้นต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชักช้า ถ้าและหาตัวเจ้าของสัตว์ไม่พบ ผู้ที่จับสัตว์ไว้ต้องจัดการตามสมควรเพื่อสืบหาตัวเจ้าของ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 452” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 452 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2508
สัญญาที่จำเลยผู้ละเมิดทำให้ไว้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อระงับข้อพิพาท โดยโจทก์มิได้ตกลงด้วยนั้น ยังหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ แต่ในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยแถลงต่อศาลโดยอ้างถึงสัญญานี้ และโจทก์ก็ได้แถลงรับ ทั้งขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา แล้วต่างลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลด้วย รายงานกระบวนพิจารณานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงย่อมจะมาฟ้องจำเลยในมูลละเมิดเดิมอีกไม่ได้ ได้แต่ฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้เท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 425, ม. 452, ม. 1112


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2492
ผู้ที่ปล่อยกระบือเข้าไปในสวนของผู้อื่นทำให้ต้นผลไม้เสียหายและฝ่ายเจ้าของสวนจับกระบือนั้นไว้ ไม่ถือว่ากระบือนั้นเป็นทรัพย์อันต้องยึดหรืออายัด ไว้ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 290 แม้เจ้าของกระบือนั้นไปเอากระบือคืนมาก็ไม่ผิดมาตรานี้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 290
ป.พ.พ. ม. 452


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2492
เจ้าของไร่ได้ใช้ปืนยิงสุกรที่เข้ามากินผลไม้ในไร่ปรากฏว่าเป็นสุกรบ้านไม่ดุร้าย มีทางที่จะจับกุมโดยละม่อมได้ และตามรูปเรื่องเจ้าของไร่ยิงไปโดยโทสะ จึงไม่เป็นนิรโทษกรรม และต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทน
ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นว่า ไม่เป็นละเมิดให้ยกฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นละเมิด ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายที่คู่ความได้นำสืบกันมาแล้วไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
ในคดีเรียกค่าเสียหายค่าสุกรที่สุกรเข้าไปกินผลไม้ในไร่เขาเสียหายเจ้าของไร่ใช้ปืนยิงสุกรตายนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าของสุกรปล่อยปละละเลยสุกรเข้าไปในไร่ของเขาบ่อยๆ เป็นการมีส่วนในการผิดอยู่ด้วย ศาลมีอำนาจลดค่าเสียหายให้ตามสมควร ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 442, ม. 452
ป.วิ.พ. ม. 242, ม. 243
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที