Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 451 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 451 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


“มาตรา 451 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 451” คืออะไร? 
“มาตรา 451” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 451 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลใช้กำลังเพื่อป้องกันสิทธิของตน ถ้าตามพฤติการณ์จะขอให้ศาลหรือเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือให้ทันท่วงทีไม่ได้ และถ้ามิได้ทำในทันใด ภัยมีอยู่ด้วยการที่ตนจะได้สมดังสิทธินั้นจะต้องประวิงไปมากหรือถึงแก่สาบสูญได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
              การใช้กำลังดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าต้องจำกัดครัดเคร่งแต่เฉพาะที่จำเป็นเพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายเท่านั้น
              ถ้าบุคคลผู้ใดกระทำการดังกล่าวมาในวรรคต้น เพราะหลงสันนิษฐานพลาดไปว่ามีเหตุอันจำเป็นที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลอื่น แม้ทั้งการที่หลงพลาดไปนั้นจะมิใช่เป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของตน “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 451” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 451 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2521
รถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ น้องชายโจทก์เช่าไปขับรับจ้างชักลากไม้ให้บริษัทจำเลยที่ 3 โดยน้องชายโจทก์ได้เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากจำเลยที่ 3 แล้วยังชักลากไม้ให้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ขอเบิกล่วงหน้าไปต่อมาโจทก์ต้องการใช้รถยนต์พิพาท จึงให้น้องชายโจทก์พาคนไปขับรถยนต์พิพาทไปเสียจากบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ควบคุมรถยนต์บรรทุกไม้รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ ได้ไปขอกำลังตำรวจติดตามไปยึดรถยนต์พิพาทไว้โดยคำนึงอยู่แต่อย่างเดียวว่าน้องชายโจทก์ยังติดค้างหนี้สินบริษัทจำเลยที่ 3 อยู่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระหว่างที่ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากผลของการละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 451 ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ติดตามรถยนต์พิพาทไปกับจำเลยที่ 1 และแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจอีกท้องที่หนึ่งยึดรถยนต์พิพาทไว้ เมื่อปรากฏว่าได้กระทำไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตใจจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 76, ม. 420, ม. 425, ม. 449, ม. 451


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2521
รถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ น้องชายโจทก์เช่าไปขับรับจ้างชักลากไม้ให้บริษัทจำเลยที่ 3 โดยน้องชายโจทก์ได้เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากจำเลยที่ 3 แล้งยังชักลากไม้ให้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ขอเบิกล่วงหน้าไป ต่อมาโจทก์ต้องการใช้รถยนต์พิพาท จึงให้น้องชายโจทก์พาคนไปขับรถยนต์พิพาทไปเสียจากบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ควบคุมรถยนต์บรรทุกไม้ รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ ได้ไปขอกำลังตำรวจติดตามไปยึดรถยนต์พิพาทไว้โดยคำนึงอยู่แต่อย่างเดียวว่าน้องชายโจทก์ยังคิดค้างหนึ้สินบริษัทจำเลยที่ 3 อยู่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระหว่างที่ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากผลของการละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 451 ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ติดตามรถยนต์พิพาทไปกับจำเลยที่ 1 และแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจอีกท้องที่หนึ่งยึดรถยนต์พิพาทไว้ เมื่อปรากฏว่าได้กระทำไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตใจจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 76, ม. 420, ม. 425, ม. 449, ม. 451


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2513
โจทก์ก่อสร้างตึกเต็มเนื้อที่ดินของโจทก์ แล้วทำทางเท้าและคันหินบนทางเท้าล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกัน โดยจำเลยตกลงยินยอมถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดิน อันเป็นทรัพยสิทธิ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมไม่บริบูรณ์ ครั้นต่อมาจำเลยบอกกล่าวไม่ยินยอมให้มีทางเท้าและคันหินล้ำบนที่ดินของจำเลยอีกต่อไป โจทก์ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้แต่ทางเท้าและคันหินนั้นไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินจำเลย
เมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนทางเท้าและคันหินออกไปจากที่ดินของจำเลย โจทก์ไม่ยอมรื้อถอน ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิทางศาลไม่มีอำนาจเข้ารื้อถอนโดยพลการ เพราะไม่เข้าเกณฑ์แห่งบทบัญญัติว่าด้วยนิรโทษกรรม หากจัดการรื้อถอนเสียเอง ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 107, ม. 109, ม. 420, ม. 440, ม. 450, ม. 451, ม. 1299, ม. 1410
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที