Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 45 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 45 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 45” คืออะไร? 


“มาตรา 45” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 45 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 45” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 45 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2536
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำหุ้นซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2ถืออยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3 มาจำนำเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่ปัจจุบันหุ้นดังกล่าวหยุดการซื้อขายโดยสิ้นเชิง หุ้นดังกล่าวจึงไม่มีมูลค่าพอที่จะนำมาหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์ได้ เมื่อคำนวณราคาหุ้นและหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์แล้วเงินยังขาดอยู่อีกเป็นจำนวนมากกว่า 500,000 บาท และ50,000 บาทตามลำดับ ถือว่าโจทก์ได้ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้ว
ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 5 ถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 5 และภูมิลำเนาที่ระบุในสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นภูมิลำเนาตามฟ้องนั้น เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายให้จำเลยที่ 5 ไม่พบจำเลยที่ 5 คงพบชายคนหนึ่งแจ้งว่าจำเลยที่ 5 ออกไปธุระข้างนอก เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ภูมิลำเนาตามฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาจำเลยที่ 5 อีกแห่งหนึ่งเช่นกัน การส่งหมายตามภูมิลำเนาตามฟ้องจึงต้องถือว่าเป็นการส่งโดยชอบ
การที่จำเลยที่ 5 ออกไปอยู่นอกราชอาณาจักรจนบัดนี้ยังไม่กลับมาจึงเข้าข้อสันนิษฐานของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ก.ว่าจำเลยที่ 5 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 45 (เดิม)
ป.วิ.พ. ม. 79
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 8, ม. 10


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2535
จำเลยมีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง ถือว่าแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยเมื่อเจ้าหน้าที่ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ณ ภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจย่อมมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ เมื่อจำเลยเบิกความยอมรับว่าจำเลยไม่ส่งไม้ให้โจทก์ตามสัญญาแล้ว จำเลยจะอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ชำระค่าไม้ที่เหลือหาได้ไม่ เพราะจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 45
ป.วิ.พ. ม. 74, ม. 199


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2535
แม้จำเลยมีสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดงว่าขณะที่ถูกฟ้องจำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 5 จังหวัดอุบลราชธานี แต่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ขณะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ว่าอยู่บ้านเลขที่ 389/4 จังหวัดนครราชสีมา และจำเลยอ้างว่าขณะนั้นอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 357 จังหวัดนครราชสีมา แต่เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่บ้านตามภูมิลำเนาในคำฟ้องคือ บ้านเลขที่ 96 จังหวัดอุบลราชธานี ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเต็มใจยอมรับหมายไว้แทนโดยไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่กล่าวในคำฟ้องและไม่ปรากฏว่าภริยาจำเลยรับหมายไว้แทนจำเลยโดยหลงผิด พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อได้ว่าจำเลยอยู่อาศัยในบ้านเดียวกับภริยา และถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป ดังนั้นบ้านที่ระบุในคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลย ถือได้ว่าได้ส่งหมายนั้นให้แก่จำเลยทราบโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและไม่ไปศาลในวันสืบพยานจึงต้องถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจจำเลยไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 45
ป.วิ.พ. ม. 76, ม. 177 วรรคแรก, ม. 197, ม. 202, ม. 207
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที