Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 445 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 445 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 445” คืออะไร? 


“มาตรา 445” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 445 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  ในกรณีทำให้เขาถึงตาย หรือให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ถ้าผู้ต้องเสียหายมีความผูกพันตามกฎหมายจะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อที่เขาต้องขาดแรงงานอันนั้นไปด้วย “

 

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติม ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 445” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 445 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2564
ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 445 เมื่อโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 บรรยายคำร้องว่า ค่าขาดทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลในครัวเรือน และนำสืบว่า ผู้ตายประกอบอาชีพทำสวน มีสวนยางพารา 15 ไร่ มีรายได้เดือนละประมาณ 25,000 บาท จึงฟังได้ว่า ก่อนผู้ตายถึงแก่ความตายได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราเลี้ยงดูโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นการงานที่ผู้ตายกระทำในครัวเรือนเป็นประโยชน์แก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 แต่ผู้ตายหามีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 445 โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดแรงงานตามคำร้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 445


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2563
ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 445 เป็นกรณีผู้ทำละเมิดต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอก โจทก์ร่วมทั้งสองเป็นบิดามารดาผู้ตายซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่ภายใต้ปกครองของโจทก์ร่วมทั้งสองตามมาตรา 1566 ซึ่งตามมาตรา 1567 กำหนดให้บิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิมอบหมายให้บุตรผู้เยาว์ทำการงานในครัวเรือนตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองมอบหมายให้ผู้ตายช่วยดูแลกิจการหอพักและกิจการฟาร์มเลี้ยงสุกรในเวลาเลิกเรียนและวันหยุด แต่ผู้ตายถูกจำเลยทำละเมิดจนถึงแก่ความตาย ย่อมทำให้โจทก์ร่วมทั้งสองต้องขาดแรงงาน จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 445, ม. 1566, ม. 1567


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8088/2560
จำเลยกระทำละเมิดเป็นเหตุให้มารดาโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย มารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย โจทก์ที่ 1 ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง การที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 445
แม้ก่อนถึงแก่ความตายมารดาโจทก์ทั้งสองรับผิดชอบดูแลบุตรผู้เยาว์ของโจทก์ที่ 1 แต่เมื่อมารดาโจทก์ทั้งสองไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่ต้องทำการงานให้เป็นคุณในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมแก่โจทก์ที่ 1 กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 445 โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดแรงงาน
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 438, ม. 445
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที