Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 44 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 44 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 44” คืออะไร? 


“มาตรา 44” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 44 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง
              ในกรณีที่ผู้เยาว์อยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ถ้าบิดาและมารดามีภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ได้แก่ภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาซึ่งตนอยู่ด้วย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 44” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 44 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2535
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 กำหนดให้ยื่นคำฟ้องคดีล้มละลายต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตส่วนลูกหนี้จะมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ใด ต้องถือตามถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 44 ส่วนการเปลี่ยนภูมิลำเนาจะทำได้ด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาปรากฏว่าจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม มาตรา 48เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเดิมจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครจำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่จังหวัดลำพูนแล้วย้ายต่อไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงว่าจำเลยมีถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ส่วนที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ได้จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลางก็เนื่องจากไม่มีตัวอยู่ในบ้านและไม่ทราบที่อยู่ใหม่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ย้ายที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนาแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนภูมิลำเนาไปจากจังหวัดเชียงใหม่แล้วแม้ตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52 และ 53จะถือว่าทะเบียนคนบ้านกลางไม่ใช่ทะเบียนบ้าน และบุคคลซึ่งมีรายการปรากฏอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลาง ไม่อาจจะขอคัดหรือรับรองสำเนารายการเพื่อนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้สิทธิในกรณีต่าง ๆ ได้ก็ตามก็เป็นเรื่องเพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียนราษฎรตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น จะถือว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นฟ้องคดีอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่หาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ในขณะยื่นฟ้อง จึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 150 ที่จะต้องไปยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดแพร่ ซึ่งมิใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจ แม้จะเป็นศาลที่มูลคดีเกิดก็ตาม ศาลจังหวัดแพร่ก็ไม่อาจรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้ กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเรื่องจำเลยเป็นบุคคลที่ไม่มีภูมิลำเนาอันจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 4, ม. 44, ม. 48
ป.วิ.พ. ม. 4
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 150, ม. 153


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2534
โจทก์ยื่นฟ้องระบุภูมิลำเนาของจำเลยไว้ในคำฟ้อง เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีจำเลยก็ระบุภูมิลำเนาตามที่โจทก์ระบุไว้นั้นด้วย แม้ต่อมาจำเลยย้ายภูมิลำเนาไปจากที่ที่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ โดยมิได้แถลงให้ศาลทราบ แต่กลับมีคำร้องต่อศาลระบุภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้องอีก ดังนี้ ถือว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาตามคำฟ้องอีกแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในการติดต่อกับจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 44, ม. 48, ม. 49


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2534
โจทก์ยื่นฟ้องระบุภูมิลำเนาของจำเลยไว้ในคำฟ้อง เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีจำเลยก็ระบุภูมิลำเนาตามที่โจทก์ระบุไว้นั้นด้วย แม้ต่อมาจำเลยย้ายภูมิลำเนาไปจากที่ที่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ โดยมิได้แถลงให้ศาลทราบ แต่กลับมีคำร้องต่อศาลระบุภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้องอีก ดังนี้ ถือว่าจำเลยยังคงมีภูมิลำเนาตามคำฟ้องอีกแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในการติดต่อกับจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 44, ม. 48, ม. 49
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที