Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 439 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 439 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 439” คืออะไร? 


“มาตรา 439” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 439 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  บุคคลผู้จำต้องคืนทรัพย์อันผู้อื่นต้องเสียไปเพราะละเมิดแห่งตนนั้น ยังต้องรับผิดชอบตลอดถึงการที่ทรัพย์นั้นทำลายลงโดยอุบัติเหตุ หรือการคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างอื่นโดยอุบัติเหตุ หรือทรัพย์นั้นเสื่อมเสียลงโดยอุบัติเหตุนั้นด้วย เว้นแต่เมื่อการที่ทรัพย์สินทำลาย หรือตกเป็นพ้นวิสัยจะคืน หรือเสื่อมเสียนั้น ถึงแม้ว่าจะมิได้มีการทำละเมิด ก็คงจะต้องตกไปเป็นอย่างนั้นอยู่เอง“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 439” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 439 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2556
ค่าเช่าซื้อนั้นมีราคารถยนต์รวมอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง มิใช่ค่าเช่าหรือค่าใช้รถยนต์เพียงอย่างเดียว เมื่อรถยนต์สูญหายนอกจากจะทำให้ผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้รับรถยนต์คืนหรือไม่ได้รับค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ยังทำให้โจทก์ผู้เช่าซื้อไม่อาจได้รับกรรมสิทธิ์รถยนต์หากชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนด้วย แม้จะฟังว่าจำเลยทั้งสองผู้ซ่อมแซมรถยนต์แล้วรถยนต์สูญหายไปได้ชดใช้เงินให้แก่บริษัทประกันภัยที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้อไป กับให้โจทก์ผู้เช่าซื้อไปอีก 80,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปงวดละ 13,905 บาท รวม 16 งวด แต่โจทก์ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเพียง 80,000 บาท ประกอบด้วยแล้ว เห็นได้ว่า โจทก์ยังคงได้รับความเสียหายอยู่อีก จำเลยทั้งสองจึงยังคงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์อีกด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์เพิ่มอีก 50,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 438, ม. 439, ม. 572


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2534
โจทก์นำรถยนต์คันพิพาทไปซ่อมเบรกที่ศูนย์บริการของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างและช่างผู้ชำนาญของจำเลยที่ 1 ได้พบเห็นการติดตั้งสปริงรั้ง ก้ามเบรกผิดวิธี แต่กลับปล่อยปละละเลยไม่จัดการแก้ไขให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้รถยนต์คันพิพาทเบรกแตกตกลงข้างทางได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้รับอันตรายสาหัสเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรง เช่นผู้มีอาชีพอย่างจำเลยที่ 2 พึงปฏิบัติ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในผลละเมิดที่เกิดขึ้น เมื่อรถยนต์คันพิพาทไม่สามารถใช้ได้ และโจทก์ได้ขอค่าเสียหายรถยนต์คันพิพาทเต็มจำนวน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้รถยนต์คันพิพาทอีกต่อไป ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์คันพิพาทจึงไม่เกิดขึ้นโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 425, ม. 438, ม. 439


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2518
จำเลยใช้คนลักไม้ของโจทก์ไปศาลลงโทษจำเลยแล้วไม้เป็นของกลางอยู่ที่สถานีตำรวจถูกไฟไหม้หมด จำเลยทำละเมิดตั้งแต่วันลักไม้เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าแม้จะไม่ละเมิดก็ยังเสียหายอยู่นั่นเองจำเลยต้องรับผิด
ในคดีอาญาอัยการขอเพียงให้ศาลส่งคืนไม้ของกลางที่จำเลยใช้คนลักไปส่วนคำขอส่วนแพ่งให้ใช้ราคาในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องเองศาลจำหน่ายเพราะไม่เสียค่าธรรมเนียมตามคำสั่งศาลโจทก์ฟ้องคดีแพ่งใหม่เรียกราคาไม้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยไม่ยื่นบัญชีพยานตามกำหนดอ้างว่าเพราะตัวจำเลยไม่แจ้งวันนัดแก่ทนายจำเลย เป็นความผิดของจำเลยเองศาลไม่รับระบุพยานชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 439
ป.วิ.พ. ม. 88, ม. 148
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที