Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 437 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 437 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 437” คืออะไร? 


“มาตรา 437” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 437 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง
              ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "ประมาทและประมาทร่วม" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "มาตรา 437" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 437” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 437 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2492
กระแสร์ไฟฟ้าถือว่าเป็นของที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพหรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หากเกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้ใดเพราะกระแสร์ไฟฟ้านั้น โดยเจ้าของผู้จำหน่ายไม่สามารถพิศูจน์ได้ว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายเองแล้ว เจ้าของผู้จำหน่ายกระแสร์ไฟฟ้านั้นต้องรับผิด โดยมิต้องคำนึงถึงว่าเจ้าของผู้จำหน่ายกระแสร์ไฟฟ้าได้กระทำการโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 437.


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2491
(ประมวลแพ่งฯ ละเมิด วิธีพิจารณาความแพ่ง หน้าที่นำสืบ ทิ้งฟ้องอุทธรณ์)
ในเรื่องเรือใบกับเรือกลไฟชนกัน เมื่อเจ้าของเรือใบมาฟ้องเรียกค่าเสียหาย เป็นหน้าที่ของฝ่ายเรือกลไฟจะต้องนำสืบก่อนในข้อที่จะไม่ต้องรับผิด ส่วนจำนวนค่าเสียหายเป็นหน้าที่ของฝ่ายเรือใบจะต้องนำสืบก่อน
ในเรื่องเรือชนกัน เมื่อศาลชั้นต้นกะหน้าที่นำสืบก่อนหลังผิดไป และคู่ความได้นำสืบไปตามนั้นแล้ว แม้ฎีกาของคู่ความที่คัดค้านในข้อนี้ฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ไม่ย้อนสำนวนให้สืบพะยานกันใหม่
เพียงแต่ปรากฏว่า ผู้อุทธรณ์ไปนำเจ้าพนักงานส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเกินกำหนด 15 วันไป 4 วัน นับแต่วันศาลสั่งรับอุทธรณ์นั้น ยังไม่พอถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์อันถึงกับจะให้จำหน่ายคดี
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 437.
ป.วิ.พ. ม. 84, ม. 174, ม. 223
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที