Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 436 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 436 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 436” คืออะไร? 


“มาตรา 436” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 436 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร “

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "บ้าน" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 436” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 436 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย.กับจำเลยที่ 1 ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายในอาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่าบริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยที่ 1ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคล ผู้อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิว ไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กาย เป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่ 1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิด ในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถ นำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้ สำเนาเอกสาร ดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไรดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 436
ป.วิ.พ. ม. 46, ม. 93 (2)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย. กับจำเลยที่ 1ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายในอาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่า บริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยที่ 1 ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิวไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กายเป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่ 1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว
ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้ สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไร ดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 436
ป.วิ.พ. ม. 46, ม. 93 (2)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2518
จำเลยสร้างแฟลตให้คนเช่า ซึ่งอาจทิ้งของและน้ำลงบนที่ดินของโจทก์ถัดไป แม้จำเลยจะครอบครองและอยู่อาศัยในแฟลต แต่ได้มีผู้เช่าแยกเป็นส่วนสัดซึ่งเป็นผู้ทำละเมิด จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม มาตรา 436 ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 436
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที