Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 429 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 429 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 429” คืออะไร? 


“มาตรา 429” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 429 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 429” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 429 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2563
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคท้าย ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้เฉพาะค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่ 3 ตามที่ถูกฟ้องเท่านั้น ไม่สามารถยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของบุคคลอื่นได้ เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากผู้ร้อง โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งขณะกระทำความผิดเป็นผู้เยาว์นั้นมีจำเลยที่ 3 เป็นมารดาของจำเลยที่ 1 ด้วย จึงถือว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพียงกรณีที่ร่วมกันกระทำละเมิดฐานพรากผู้เสียหายที่ 1 เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 3 มิได้ร่วมกระทำความผิดตามฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 ในฐานะมารดาซึ่งไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล ปล่อยให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์พรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากความปกครองของผู้ร้อง จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของพนักงานอัยการและคำร้องของผู้ร้อง เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 429
ป.วิ.อ. ม. 40, ม. 44/1 วรรคท้าย
ป.วิ.พ. ม. 142


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2558
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญากฎหมายให้อำนาจพนักงานอัยการในการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เมื่อศาลมีคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แล้วให้ถือว่า ผู้เสียหายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 แต่ในส่วนของการบังคับคดีส่วนแพ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 249 ยังคงให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ ดังนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 บุคคลที่จะถูกบังคับคดีได้จึงต้องเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล เมื่อมารดาของจำเลยไม่ได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาประกอบกับคดีนี้ไม่เข้ากรณีที่ผลของคำพิพากษาผูกพันบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงไม่อาจบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของมารดาจำเลยได้ ผู้ร้องต้องใช้สิทธิทางแพ่งฟ้องร้องให้มารดาของจำเลยร่วมรับผิดในฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 เป็นอีกคดีหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่ามารดาของจำเลยต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้องอย่างไร ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีนี้เพื่อนำไปใช้บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินมารดาของจำเลยได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 145, ม. 271
ป.วิ.อ. ม. 43, ม. 50, ม. 249
ป.พ.พ. ม. 429


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2558
แม้ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กฎหมายจะให้อำนาจพนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 และเมื่อศาลมีคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แล้วให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 ก็ตาม แต่ในส่วนของการบังคับคดีส่วนแพ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 249 ยังคงให้นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับ ดังนี้ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติว่า ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี(เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ดังนี้ บุคคลที่จะถูกบังคับคดีได้จึงต้องเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล เมื่อมารดาของจำเลยไม่ได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาประกอบกับคดีนี้ไม่เข้ากรณีที่ผลของคำพิพากษาผูกพันบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ผู้ร้องจึงไม่อาจบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของมารดาจำเลยได้ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า มารดาของจำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องใช้สิทธิทางแพ่งฟ้องร้องให้มารดาของจำเลยร่วมรับผิดในฐานละเมิดเป็นอีกคดีหนึ่ง ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามารดาของจำเลยต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายอย่างไร ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีนี้เพื่อนำไปใช้บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินมารดาของจำเลยได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 429
ป.วิ.พ. ม. 145, ม. 271
ป.วิ.อ. ม. 43, ม. 50, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที