Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 426 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 426 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 426” คืออะไร? 


“มาตรา 426” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 426 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 426” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 426 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2562
โจทก์บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของ จ. ซึ่งเป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่เป็นเหตุโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับลักษณะการเป็นตัวแทน โจทก์ก็นำสืบได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดว่าการกระทำดังกล่าวของ จ. จะมีลักษณะเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลย ขึ้นอยู่กับข้อกฎหมายที่ว่าจำเลยจะต้องรับผิดด้วยหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยมอบอำนาจให้ จ. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยออกหนังสือค้ำประกันแทนจำเลยได้ตามเงื่อนไข การที่ จ. ออกหนังสือค้ำประกันที่สาขาของจำเลยโดยใช้กระดาษแบบฟอร์มของจำเลย ถือได้ว่าทางปฏิบัติของจำเลยผู้เป็นตัวการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นการกระทำอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน หนังสือค้ำประกันจากธนาคารจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ยอมรับหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันการชำระเงินค่าสินค้าของ ม. การที่ ม. ไม่ชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์ ความเสียหายของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของ จ. ซึ่งเป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 425, ม. 426, ม. 427, ม. 820, ม. 822, ม. 823


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14217/2558
โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย เรือ พ. จากบริษัท อ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองอู่ต่อเรือ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการเรือ พ. มีหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมเรือและเข้าร่วมซ่อมแซมเรือกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับจ้างซ่อมแซมเรือ พ. จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และ/หรือเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดหาทำการว่าจ้าง วาน ใช้ หรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 ให้ดำเนินการซ่อมแซมเรือ จำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดต่อเจ้าของเรือ พ. โดยจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาททำให้เกิดเพลิงลุกไหม้เรือ พ. จนได้รับความเสียหาย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาเพื่อขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์ ทั้งโจทก์ยืนยันว่าเหตุละเมิดเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 หากพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วได้ความตามฟ้อง จำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ไม่ว่าในฐานะตัวการตัวแทนหรือนายจ้างลูกจ้าง เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 427 ให้นำมาตรา 425 และ 426 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของนายจ้างเพื่อผลละเมิดของลูกจ้างซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างบังคับแก่กรณีตัวการตัวแทนโดยอนุโลม ทั้งจำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 อาจต้องร่วมรับผิดทั้งการกระทำละเมิดและการกระทำผิดสัญญาจ้างซ่อมแซมเรือที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในคราวเดียวกัน ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาจึงไม่ได้ขัดแย้งกัน ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 425, ม. 426, ม. 427, ม. 887
ป.วิ.พ. ม. 172 วรรคสอง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4317/2558
การที่โจทก์ไม่ดำเนินการสืบหาที่อยู่ของจำเลยที่ 1 เพื่อส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ใหม่ และแถลงต่อศาลภายในกำหนดเวลา 1 เดือน โดยปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาถึง 3 เดือนเศษ แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยเกี่ยวกับภัยพิบัติน้ำท่วม ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลสั่งได้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นก็ยังคงเปิดทำการอยู่ โจทก์สามารถสื่อสารกับศาลชั้นต้นได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าทางโทรศัพท์ หรือทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1
เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เท่ากับหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดมากไปกว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระแก่โจทก์เนื่องจากเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 291, ม. 301, ม. 425, ม. 426
ป.วิ.พ. ม. 23, ม. 174 (2), ม. 246
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที