Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 424 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 424 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 424” คืออะไร? 


“มาตรา 424” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 424 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จำต้องดำเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 424” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 424 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2496
ผู้ไร้ความสามารถและบิดามารดา ต้องรับผิดในผลที่เด็กกระทำละเมิด เว้นแต่จะพิศูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัด ระวังตามสมควร แก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น.
บิดาเก็บปืนลูกซองไว้บนหลังตู้เซฟ บุตรอายุ 9 ขวบหยิบไม่ถึงต่อมาปรากฎว่าบุตรเอาปืนนั้นไป บิดาจึงสั่งให้ผู้มีชื่อ เอาปืนจากบุตรไปเก็บไว้ พอตอนเย็นบุตรก็มาพูดหลอกว่าบิดาให้มาเอาปืนไปอีก ได้ปืนแล้วไปยิงนก จนทำปืนลั่น ถูกเด็กอืนตาย ดังนี้ วินิจฉัยว่าการที่บิดาสั่งเพียงให้เก็บปืนไว้เฉย ๆ มิได้กำชับว่าอย่ามอบให้บุตรเอาไปนั้น ยัง เรียกไม่ได้ว่า บิดาได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลดังที่กฎหมายบังคับไว้ บิดาจึงต้องร่วมรับผิดใน ผลของการละเมิดนั้นด้วย./
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 424.


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2491
การพิจารณาคดีส่วนแพ่งตาม ป.ม.วิ.อาญา ม.46 ให้ศาลถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ส่วนการชี้ขาดคดีส่วนแพ่ง ศาลต้องดำเนินตามมาตรา 47 กล่าวคือ ดูว่าตามข้อเท็จจริงที่ได้จากคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้น จำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งประการใดหรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงเลยว่าจำเลยผิดในทางอาญา และต้องมีโทษหรือไม่อย่างไร
ปลัดอำเภอบังคับให้ผู้แจ้งปริมาณเสื้อผ้า ขายเสื้อผ้าต่าง ๆ แก่ผู้อื่นโดยราคาถูก แม้จะเชื่อโดยสุจจริตว่า ทำไปโดยมีอำนาจ โดยชอบด้วยกฎหมาย และผู้ซื้อรับซื้อโดยคิดว่าถูกต้องก็ตาม ถ้าปรากฏว่า การกระทำนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฏหมาย เพราะได้มีประกาศยกเลิกการควบคุมในการนั้นแล้ว ปลัดอำเภอและผู้รับซื้อก็ต้องรับผิดฐานละเมิด
โจทก์กล่าวบรรยายข้อเท็จจริงไว้เป็นตอน ๆ ได้ความชัดว่า จำเลยที่ 1 บังคับให้โจทก์ขายผ้าให้จำเลยที่ 2, 3, 4 ในราคาถูกโดยไม่มีความชอบธรรมที่จะทำได้ตามกฎหมาย เป็นการเพียงพอที่จะให้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.อ. ม. 46, ม. 47.
ป.พ.พ. ม. 420, ม. 424.
ป.วิ.พ. ม. 172
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที