Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 416 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 416 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 416” คืออะไร? 


“มาตรา 416” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 416 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ค่าใช้จ่ายทั้งหลายอันควรแก่การเพื่อรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ท่านว่าต้องชดใช้แก่บุคคลผู้คืนทรัพย์สินนั้นเต็มจำนวน
              แต่บุคคลเช่นว่านี้จะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายตามธรรมดาเพื่อบำรุงซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น หรือค่าภาระติดพันที่ต้องเสียไปในระหว่างที่ตนคงเก็บดอกผลอยู่นั้นหาได้ไม่ “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 416” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 416 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2541
ตามสัญญาเช่าฉบับพิพาทมีข้อความระบุว่า ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันเช่าสถานที่บริการและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี โดยผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าสถานที่และใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในปีแรกเดือนละ 45,000 บาท และในปีต่อ ๆ ไปในอัตราค่าเช่าเดือนละ 50,000 บาท ตลอดไป ในวันทำสัญญานี้ผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าล่วงหน้าแก่ผู้ให้เช่าไว้ และผู้ให้เช่าคิดเงินพิเศษค่าเช่าดำเนินกิจการเป็นเงินจำนวน1,000,000 บาท โดยผู้ให้เช่าตกลงยกอุปกรณ์ในการประกอบกิจการที่มีอยู่ในสถานที่เช่าทั้งหมดแก่ผู้เช่า และตกลงให้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าเป็นสาระสำคัญยิ่งของสัญญาเช่านี้ และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดำเนินการขอต่ออายุใบอนุญาตต่อทางราชการให้ใบอนุญาตมีผลใช้ได้ตาม กฎหมายอยู่เสมอตลอดระยะเวลาเช่าในสัญญาและคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปีด้วย และผู้ให้เช่าต้องไม่นำใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการนี้ไปดำเนินกิจการเอง หรือยินยอมอนุญาตให้ผู้อื่นดำเนินกิจการนี้ด้วยวิธีการใด ๆ อีกเป็นอันขาดถ้าสถานบริการถูกรื้อถอนหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการในสถานที่ดังกล่าวได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดเป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องย้ายสถานที่บริการจากสถานที่ไปอยู่อีกแห่งหนึ่ง ผู้ให้เช่าจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอย้ายสถานบริการจากสถานที่เช่า ไปอยู่ยังสถานที่แห่งอื่นที่ผู้เช่าประสงค์โดยปราศจากข้อโต้แย้งทั้งสิ้น โดยผู้ให้เช่าตกลงคิดค่าเช่าในการให้ผู้เช่าใช้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในสถานที่แห่งใหม่เพียงอย่างเดียวในอัตราค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท ไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่านี้ และคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี และให้ยกเลิกอัตราค่าเช่าไปโดยปริยายหากสถานที่เช่าและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าตกทอดไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นในระหว่างอายุสัญญา เช่านี้หรือตามคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี สัญญาเช่านี้คงมีผลผูกพันไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ทายาทหรือบุคคลอื่นทราบถึงสัญญา เห็นได้ว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปดำเนินกิจการแทนในฐานะผู้จัดการเท่านั้นแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้แก่กัน โดยมีการตกลงซื้อขายอุปกรณ์ในการประกอบกิจการให้แก่กันและคู่กรณีมีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้โจทก์ดำเนินกิจการตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยทำเป็นสัญญาเช่าการที่โจทก์ชำระค่าเช่าล่วงหน้าก็ดี ชำระค่าอุปกรณ์ที่ใช้ ในการประกอบกิจการสถานบริการตลอดจนค่าตกแต่งสถานบริการก็ดี ก็เพื่อประโยชน์ในการประกอบ กิจการสถานบริการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าตามฎีกาของโจทก์แต่อย่างใดไม่ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติสถานบริการพ.ศ. 2509 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม(มาตรา 150 ที่ตรวจชำระใหม่) โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายจากจำเลย กรณีจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา ส่วนเงินค่าตอบแทนการได้เข้าดำเนินกิจการและการยกอุปกรณ์ และทรัพย์สินในการประกอบกิจการให้แก่กัน และได้มี โอนส่งมอบสถานที่ อุปกรณ์ และทรัพย์สินให้แก่กันไปแล้ว จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ชำระไปเพื่อให้การดำเนินกิจการ ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายบรรลุผล โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้อง คืนจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 สำหรับเงินลงทุนของโจทก์ เมื่อไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 416 จำเลยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์จึงไม่ต้องรับผิดใช้คืนแก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 149, ม. 150, ม. 222, ม. 411, ม. 416, ม. 456, ม. 537
พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 ม. 3 (1)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2541
ตามสัญญาเช่าฉบับพิพาทมีข้อความระบุว่า ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (1) แห่ง พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 ตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันเช่าสถานที่บริการและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี โดยผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าสถานที่และใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในปีแรกเดือนละ 45,000 บาท และในปีต่อ ๆ ไปในอัตราค่าเช่าเดือนละ 50,000 บาท ตลอดไป ... ในวันทำสัญญานี้ผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าล่วงหน้าแก่ผู้ให้เช่าไว้ และผู้ให้เช่าคิดเงินพิเศษค่าเช่าดำเนินกิจการเป็นเงินจำนวน1,000,000 บาท โดยผู้ให้เช่าตกลงยกอุปกรณ์ในการประกอบกิจการที่มีอยู่ในสถานที่เช่าทั้งหมดแก่ผู้เช่า และตกลงให้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าเป็นสาระสำคัญยิ่งของสัญญาเช่านี้ และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดำเนินการขอต่ออายุใบอนุญาตต่อทางราชการให้ใบอนุญาตมีผลใช้ได้ตามกฎหมายอยู่เสมอตลอดระยะเวลาเช่าในสัญญาและคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปีด้วย และผู้ให้เช่าต้องไม่นำใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการนี้ไปดำเนินกิจการเอง หรือยินยอมอนุญาตให้ผู้อื่นดำเนินกิจการนี้ด้วยวิธีการใด ๆ อีกเป็นอันขาด ถ้าสถานบริการถูกรื้อถอนหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการในสถานที่ดังกล่าวได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด เป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องย้ายสถานที่บริการจากสถานที่ไปอยู่อีกแห่งหนึ่ง ผู้ให้เช่าจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอย้ายสถานบริการจากสถานที่เช่า ไปอยู่ยังสถานที่แห่งอื่นที่ผู้เช่าประสงค์โดยปราศจากข้อโต้แย้งทั้งสิ้น โดยผู้ให้เช่าตกลงคิดค่าเช่าในการให้ผู้เช่าใช้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในสถานที่แห่งใหม่เพียงอย่างเดียวในอัตราค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาทไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่านี้ และคำมั่นจะให้เช่าจนครบ10 ปี และให้ยกเลิกอัตราค่าเช่าไปโดยปริยาย หากสถานที่เช่าและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าตกทอดไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นในระหว่างอายุสัญญาเช่านี้หรือตามคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี สัญญาเช่านี้คงมีผลผูกพันไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ทายาทหรือบุคคลอื่นทราบถึงสัญญา เห็นได้ว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปดำเนินกิจการแทนในฐานะผู้จัดการเท่านั้นแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้แก่กัน โดยมีการตกลงซื้อขายอุปกรณ์ในการประกอบกิจการให้แก่กัน และคู่กรณีมีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้โจทก์ดำเนินกิจการตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยทำเป็นสัญญาเช่า การที่โจทก์ชำระค่าเช่าล่วงหน้าก็ดี ชำระค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานบริการตลอดจนค่าตกแต่งสถานบริการก็ดี ก็เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการสถานบริการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าตามฎีกาของโจทก์แต่อย่างใดไม่ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา113 เดิม (มาตรา 150 ที่ตรวจชำระใหม่) โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายจากจำเลย กรณีจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา
ส่วนเงินค่าตอบแทนการได้เข้าดำเนินกิจการและการยกอุปกรณ์และทรัพย์สินในการประกอบกิจการให้แก่กัน และได้มีโอนส่งมอบสถานที่ อุปกรณ์ และทรัพย์สินให้แก่กันไปแล้ว จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ชำระไปเพื่อให้การดำเนินกิจการที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายบรรลุผล โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องคืนจากจำเลยได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 411
สำหรับเงินลงทุนของโจทก์ เมื่อไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 416 จำเลยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์จึงไม่ต้องรับผิดใช้คืนแก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 149, ม. 150, ม. 222, ม. 411, ม. 416, ม. 456, ม. 537
พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 ม. 3 (1)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที