Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 414 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 414 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 414” คืออะไร? 


“มาตรา 414” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 414 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  ถ้าการคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะสภาพแห่งทรัพย์สินที่ได้รับไว้นั้นเองก็ดี หรือเพราะเหตุอย่างอื่นก็ดี และบุคคลได้รับทรัพย์สินไว้โดยสุจริต ท่านว่าบุคคลเช่นนั้นจำต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน
              ถ้าบุคคลได้รับทรัพย์สินนั้นไว้โดยทุจริต ท่านว่าต้องใช้ราคาทรัพย์สินนั้นเต็มจำนวน“

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 414” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 414 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2538
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 นั้นเป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องนำสืบแสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ต้องเป็นค่าฤชาธรรมเนียมรวมทั้งค่าทนายความที่คู่ความฝ่ายชนะคดีได้เสียไปจริง ๆ ในการดำเนินคดี การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเข้าว่าความด้วยตนเองโดยมิได้แต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทน ผู้ร้องก็ไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุที่จะให้ผู้คัดค้านต้องชดใช้ค่าทนายความแทนผู้ร้อง
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 114 แล้ว มีผลให้จำเลยผู้โอนและผู้รับโอนผู้คัดค้านกลับคืนสู่ฐานะเดิม ผู้คัดค้านต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลย แต่เนื่องจากผู้คัดค้านไม่อาจคืนที่ดินให้แก่จำเลยได้ เพราะผู้คัดค้านได้ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ผู้คัดค้านก็ต้องคืนเงินให้แก่จำเลยโดยเต็มจำนวนตามราคาที่ดินเพราะเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินไว้โดยไม่สุจริต อันฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 414 วรรคสอง
ป.วิ.พ. ม. 161
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 114, ม. 153


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2537
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ก. แทนจำเลยจำนวน 1,000 หุ้น จำเลยชำระเงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้นของธนาคาร ก. จำนวน 2,000 หุ้น โดยเป็นหุ้นที่จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อไว้แทนจำนวน 1,000 หุ้นดังกล่าวรวมกับหุ้นที่จำเลยมีอยู่เดิม โจทก์ได้ขายให้จำเลยแล้วในราคาหุ้นละ 303 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วในส่วนของหุ้นจำนวน 1,000 หุ้น เป็นเงิน301,182 บาท โดยหักค่าธรรมเนียมการขายไว้ ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบใบหุ้นของธนาคาร ก. ให้แก่จำเลยอีกจำนวน1,000 หุ้น โดยสำคัญผิดว่าเป็นหุ้นที่จำเลยได้สั่งซื้อไว้และโจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้ จำเลยรับไว้แล้วจำเลยส่งมอบใบหุ้นจำนวนเดียวกันนี้คืนโจทก์ในวันเดียวกันโจทก์ก็รับไว้โดยเข้าใจว่าเป็นการส่งมอบใบหุ้นที่จำเลยได้สั่งขายในส่วนที่ยังค้างการส่งมอบและได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นที่เหลือจำนวน 301,182 บาท ให้แก่จำเลยไป การที่จำเลยรับใบหุ้นจากโจทก์โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีหุ้นของจำเลยเหลืออยู่ที่โจทก์อีก จึงเป็นการรับไว้โดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้น 1,000 หุ้น ให้โจทก์เต็มจำนวน หากคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา 301,182 บาท แก่โจทก์เท่าจำนวนราคาหุ้นที่จำเลยรับไปจากโจทก์มิใช่ราคา 303,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 406, ม. 412, ม. 413, ม. 414


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2537
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ก.แทนจำเลย จำนวน1,000 หุ้น จำเลยชำระเงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้นของธนาคาร ก.จำนวน 2,000หุ้น โดยเป็นหุ้นที่จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อไว้แทนจำนวน 1,000 หุ้นดังกล่าวรวมกับหุ้นที่จำเลยมีอยู่เดิม โจทก์ได้ขายให้จำเลยแล้วในราคาหุ้นละ 303 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วในส่วนของหุ้นจำนวน 1,000 หุ้นเป็นเงิน 301,182 บาท โดยหักค่าธรรมเนียมการขายไว้ ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบใบหุ้นของธนาคาร ก.ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 1,000 หุ้น โดยสำคัญผิดว่าเป็นหุ้นที่จำเลยได้สั่งซื้อไว้และโจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้ จำเลยรับไว้แล้วจำเลยส่งมอบใบหุ้นจำนวนเดียวกันนี้คืนโจทก์ในวันเดียวกัน โจทก์ก็รับไว้โดยเข้าใจว่าเป็นการส่งมอบใบหุ้นที่จำเลยได้สั่งขายในส่วนที่ยังค้างการส่งมอและได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นส่วนที่เหลือจำนวน 301,182 บาท ให้แก่จำเลยไป การที่จำเลยรับใบหุ้นจากโจทก์โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีหุ้นของจำเลยเหลืออยู่ที่โจทก์อีก จึงเป็นการรับไว้โดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้น 1,000 หุ้น ให้โจทก์เต็มจำนวน หากคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา 301,182 บาท แก่โจทก์เท่าจำนวนราคาหุ้นที่จำเลยรับไปจากโจทก์มิใช่ราคา 303,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 406, ม. 412, ม. 413, ม. 414
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที