“มาตรา 409 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 409” คืออะไร?
“มาตรา 409” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 409 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ได้ชำระหนี้ไปโดยสำคัญผิด เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ผู้ทำการโดยสุจริตได้ทำลาย หรือลบล้างเสียซึ่งเอกสารอันเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ก็ดี ยกเลิกหลักประกันเสียก็ดี สิ้นสิทธิไปเพราะขาดอายุความก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้ไม่จำต้องคืนทรัพย์
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ไม่ขัดขวางต่อการที่บุคคลผู้ได้ชำระหนี้นั้นจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ถ้าจะพึงมี “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 409” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 409 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2536
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินจากจำเลย 2 แปลงโจทก์จ่ายเงินค่าซื้อที่ดิน 2 แปลงให้แก่จำเลยแล้วแต่จำเลยจัดการโอนที่ดินให้แก่โจทก์เพียง 1 แปลงเท่านั้นส่วนที่ดินอีกแปลงหนึ่งจำเลยยังไม่จัดการโอนขายแก่โจทก์ตามที่ตกลงกัน ถือว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่ยังมิได้โอนและเรียกเงินราคาที่ดินคืนได้และนับแต่วันจดทะเบียนซื้อขายที่ดินแปลงแรกจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 2 ปีเศษแล้ว จำเลยก็มิได้จัดการโอนที่ดินที่เหลืออีก 1 แปลงให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยเพื่อเรียกเงินราคาที่ดินดังกล่าวคืนโดยไม่ขอบังคับให้จำเลยโอนที่ดินอันเป็นการแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะบังคับตามสัญญาต่อไป จึงเท่ากับเป็นการบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่เหลือโดยปริยาย โจทก์ฟ้องเรียกราคาที่ดินคืน เพราะเหตุจำเลยผิดสัญญา จะซื้อขายที่ดิน และโจทก์บอกเลิกสัญญา จะนำอายุความ 1 ปี ฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 มาบังคับไม่ได้ต้องนำอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164 เดิม, ม. 386, ม. 409
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2522
คดีก่อนโจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยโดยอาศัยเหตุที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันและได้ใช้หนี้แทนจำเลยไป แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยโดยสำคัญผิดว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระแทนโดยอาศัยหลักลาภมิควรได้ ซึ่งเป็นการอาศัยเหตุต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เพิ่งจะรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลพิพากษาในคดีก่อนว่าสัญญาที่โจทก์ค้ำประกันจำเลยนั้นไม่ผูกพันโจทก์ อายุความ 1 ปีจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีก่อน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2492)
การชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407นั้น ต้องถือหลักว่ารู้หรือไม่รู้ตามความรู้เห็นของผู้ชำระเป็นประมาณ ไม่ถือเอาผลในกฎหมายว่ามีความผูกพันกันอยู่จริงหรือไม่เป็นเกณฑ์ เพียงแต่ผู้ชำระสำคัญผิดว่าตนมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้นั้น แม้ตามกฎหมายผู้ชำระจะไม่ต้องผูกพันก็จะถือว่าผู้ชำระรู้อยู่แล้วไม่ได้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยไปโดยสำคัญผิด โจทก์ก็ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 409
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 148
ป.พ.พ. ม. 407, ม. 409, ม. 419
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2522
คดีก่อนโจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยโดยอาศัยเหตุที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันและได้ใช้หนี้แทนจำเลยไป แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลย โดยสำคัญผิดว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระแทน โดยอาศัยหลักลาภมิควรได้ ซึ่งเป็นการอาศัยเหตุต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เพิ่งจะรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลพิพากษาในคดีก่อนว่าสัญญาที่โจทก์ค้ำประกันจำเลยนั้นไม่ผูกพันโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีก่อน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2492)
การชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 นั้น ต้องถือหลักว่ารู้หรือไม่รู้ตามความรู้เห็นของผู้ชำระเป็นประมาณ ไม่ถือเอาผลในกฎหมายว่ามีความผูกพันกันอยู่จริงหรือไม่เป็นเกณฑ์ เพียงแต่ผู้ชำระสำคัญผิดว่าตนมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้นั้น แม้ตามกฎหมายผู้ชำระจะไม่ต้องผูกพันก็จะถือว่าผู้ชำระรู้อยู่แล้วไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยไปโดยสำคัญผิด โจทก์ก็ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 409
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 148
ป.พ.พ. ม. 407, ม. 409, ม. 419