“มาตรา 402 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 402” คืออะไร?
“มาตรา 402” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 402 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าเงื่อนไขดังว่ามาในมาตราก่อนนั้นมิได้มี ท่านว่าตัวการจำต้องคืนสิ่งทั้งหลายบรรดาที่ได้มาเพราะเขาเข้าจัดการงานนั้นให้แก่ผู้จัดการ ตามบทบัญญัติว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้
ถ้าตัวการให้สัตยาบันแก่การที่จัดทำนั้น ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 402” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 402 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนในระหว่างที่จำเลยร่วมกันดำเนินกิจการของโจทก์ที่1 แทนโจทก์ที่ 2 ได้จำหน่ายรถไถและอุปกรณ์รถไถของโจทก์ที่ 1 แล้วไม่นำเงินส่งให้โจทก์ที่1 กับเอาตราและเอกสารของโจทก์ที่ 1 ไปด้วย ขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าที่จำหน่ายไป กับให้ส่งมอบตราและเอกสารแก่โจทก์จำเลยที่ 4 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 ได้รับรถไถของจำเลยที่ 4 ไปจำหน่ายแล้วไม่นำเงินส่งมอบแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 ตามข้อตกลง ทั้งยังได้นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวอีกด้วยขอให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ที่ 3 ซึ่งเข้ามาช่วยโจทก์ที่ 2 ดำเนินการห้างฯ โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วย และให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชีดังนี้ ฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับรถไถเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่อ้างว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวกับให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชีนั้น เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมต้องห้ามมิให้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 395, ม. 402, ม. 1042, ม. 1048, ม. 1057, ม. 1080
ป.วิ.พ. ม. 172, ม. 177 วรรคสาม
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ฯ โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วน ในระหว่างที่จำเลยร่วมกันดำเนินกิจการของโจทก์ 1 แทนโจทก์ที่ 2 ได้จำหน่ายรถไถและอุปกรณ์รถไถของโจทก์ที่ 1 แล้วไม่นำเงินส่งให้โจทก์ที่ 1 กับเอาตราและเอกสารของโจทก์ที่ 1 ไปด้วย ขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าที่จำหน่ายไป กับให้ส่งมอบตราและเอกสารแก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 ได้รับรถไถของจำเลยที่ 4 ไปจำหน่ายแล้วไม่นำเงินส่งมอบแก่โจทก์ 1 และจำเลยที่ 4 ตามข้อตกลง ทั้งยังได้นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวอีกด้วย ขอให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ที่ 3 ซึ่งเข้ามาช่วยโจทก์ที่ 2 ดำเนินการห้าง ฯ โจทก์ที่ร่วมรับผิดด้วย และให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้าง ฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชี ดังนี้ ฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับรถไถเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่อ้างว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัว กับให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1และชำระบัญชีนั้น เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ต้องห้ามมิให้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 395, ม. 402, ม. 1042, ม. 1048, ม. 1057, ม. 1080
ป.วิ.พ. ม. 172, ม. 177 วรรคสาม
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393 - 1394/2492
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร 2486 มาตรา 10 กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าภาษีของผู้ส่งของออกต้องถือว่าตกอยู่ในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบขนสินค้าให้ (อ้างฎีกา 476/2492)
ใบขนสินค้านั้น กรมศุลกากรออกให้แก่ผู้ขนส่งสินค้าเมื่อชำระค่าภาษี วิธีการต่อมาก็เป็นแต่เพียงการที่โจทก์ต้องนำใบขนไปให้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรตรวจสอบกับสินค้าว่าตรงตามใบขนนั้นหรือไม่ แล้วควบคุมสินค้านั้นไปจนถึงท่าออกเรือ เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนเพิ่มเติมสินค้านั้นเท่านั้น กรมศุลกากรหามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนที่ได้ออกให้แล้วนั้นไม่
โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าลงนามในบันทึกหลังใบขนสินค้าขาออกว่า"ถ้าคำนวณตามพิกัดอัตราที่ใช้อยู่ในวันที่ 7/5/89ข้าพเจ้าได้ชำระเงินเพิ่มเติมอีก" นั้นหาใช่เป็นการรับสภาพหนี้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2486 ม. 10
ป.พ.พ. ม. 402