Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 40 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 40” คืออะไร? 


“มาตรา 40” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 40 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง หรือเป็นผู้ครองชีพในการเดินทางไปมาปราศจากหลักแหล่งที่ทำการงาน พบตัวในถิ่นไหนให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 40” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 40 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2549
แม้จำเลยที่ 1 จะออกจากบ้านตามภูมิลำเนาโดยไม่มีผู้ใดทราบข่าวคราวก็ตาม แต่ขณะที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไม่อยู่และตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ หรือมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนสาบสูญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 1 ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 และยังมีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้านตามที่อยู่ในคำฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง ดังนั้น ที่อยู่ตามคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 37 การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
ธ. เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ผู้ไม่อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 ดังนั้น ขณะที่ ธ. ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ธ. ยังไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การยื่นคำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยศาลฎีกาเห็นควรเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องตลอดจนกระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ของ ธ. เสีย และมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 74 (2), ม. 79, ม. 142 (5), ม. 246, ม. 247
ป.พ.พ. ม. 37, ม. 40


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6068/2538
ทนายโจทก์ได้ย้ายไปจากภูมิลำเนาเดิมแล้วก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนั้นการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายโจทก์ตามภูมิลำเนาเดิมของทนายโจทก์โดยวิธีปิดหมาย จึงเป็นการไม่ชอบย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังใหม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 40
ป.วิ.พ. ม. 79 วรรคแรก, ม. 140 (3), ม. 246


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6003/2534
วันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก โจทก์ขอเลื่อนคดีอ้างเหตุตัวโจทก์ป่วย ในวันนัดที่สองคู่ความขอเลื่อนอ้างว่าคดีมีทางตกลงกันได้ศาลอนุญาตโดยมีคำสั่งกำชับว่านัดหน้าหากตกลงกันไม่ได้ให้โจทก์เตรียมพยานมาให้พร้อมสืบ และโจทก์ไม่ได้แถลงต่อศาลว่าโจทก์มีนัดอยู่ก่อนแล้วไม่อาจมาศาลในวันนัดได้ เมื่อถึงวันนัดโจทก์ ขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่ามีกิจธุระซึ่งนัดไว้ก่อนแล้ว ทั้งไม่นำ พยาน ปาก อื่นมาสืบ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่นำพาต่อคำสั่งศาล ดังกล่าว พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ประวิงคดี ศาลมีอำนาจงดสืบพยาน โจทก์ได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 40, ม. 86
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที