Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 398 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 398 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 398” คืออะไร? 


“มาตรา 398” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 398 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดเพื่อประสงค์จะปัดป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการ จะเป็นภัยแก่ตัวก็ดี แก่ชื่อเสียงก็ดี หรือแก่ทรัพย์สินก็ดี ท่านว่าผู้จัดการต้องรับผิดชอบแต่เพียงที่จงใจทำผิด หรือที่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 398” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 398 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2508
จำเลยขายข้าวให้โจทก์ แล้วรับฝากข้าวไว้ในยุ้งโดยไม่มีบำเหน็จ ต่อมาเกิดอุทกภัย จำเลยให้โจทก์มารับข้าวโจทก์ก็ไม่มา จำเลยจึงขายข้าวนั้นไปเพราะเกรงน้ำจะท่วมข้าวเสียหาย หลังจากที่จำเลยได้ขายข้าวของจำเลยเองไปหมดแล้ว ดังนี้ ถือว่าจำเลยในฐานะผู้รับฝากด้วยการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จ ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินที่รับฝากไว้เหมือนเช่นได้ประพฤติในกิจการของตนเองดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคต้น และเป็นการกระทำเพื่อจะปัดป้องอันตรายอันจะเป็นภัยแก่ทรัพย์สินนั้นโดยมิได้จงใจทำผิดหรือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประการใด จึงไม่ต้องรับผิดดังนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 398
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 659 วรรคแรก, ม. 398
ป.วิ.พ. ม. 84


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2504
รูปคดีที่แสดงว่าเป็นตัวแทนกัน
เมื่อผู้ซื้อจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือใบเสร็จรับเงินของผู้ขายเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 318 แล้ว ปัญหาเรื่องการตั้งตัวแทนเพื่อให้รับเงินจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตกไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 318, ม. 398
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที