Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 397 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 397” คืออะไร? 


“มาตรา 397” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 397 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าผู้จัดการทำกิจอันใดซึ่งเป็นหน้าที่บังคับให้ตัวการทำเพื่อสาธารณประโยชน์ก็ดี หรือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะบำรุงรักษาผู้อื่นก็ดี และหากผู้จัดการมิได้เข้าทำแล้วกิจอันนั้นจะไม่สำเร็จภายในเวลาอันควรไซร้ การที่ได้ทำขัดกับความประสงค์ของตัวการเช่นนั้น ท่านมิให้ยกขึ้นเป็นข้อวินิจฉัย “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 397” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 397 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2558
จัดการงานนอกสั่งนั้น ป.พ.พ. มาตรา 395 บัญญัติว่า "บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี..." ดังนั้น บุคคลใดที่จะเข้าทำกิจการแทนผู้อื่น เช่น โจทก์เข้าไปชำระค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา แทนจำเลยนั้น เข้าทำกิจการแทนได้เลยโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าตัวการจะขอให้ทำหรือมีสิทธิทำแทนหรือไม่ ยิ่งในกรณีคดีนี้เข้าทำกิจการอันเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย คือเป็นการจัดการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 และตามข้อบังคับของจำเลยและตาม ป.พ.พ. มาตรา 397 ถ้าโจทก์ไม่เข้าชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าส่วนกลาง แทนจำเลยแล้ว อาจไม่ทันท่วงทีเป็นเหตุให้ทางการไฟฟ้านครหลวงและการประปานครหลวงตัดน้ำตัดไฟของอาคารชุด การที่เข้าทำนี้ยังเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องคำนึงว่าจะขัดกับความประสงค์ของตัวการคือจำเลย โจทก์เข้าทำได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะต้องการหรือไม่ และเมื่อโจทก์ทำการตามมาตรา 397 นี้แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่โจทก์อย่างเช่นโจทก์เป็นตัวแทนจำเลยได้ตามมาตรา 401
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 395, ม. 397, ม. 401


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472 - 1473/2494
เจ้าของที่ดินเซ็นชื่อในใบมอบฉันทะ แล้วปล่อยว่างไว้ ให้กรอกกันเอาเองว่าให้ไปทำอะไรบุคคลภายนอกไม่ทราบเจตนาของเจ้าของที่ดิน จึงใช้ใบมอบฉันทะนั้นทำสัญญาในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าของที่ดิน จำนองที่ดินของเจ้าของที่ดินแก่ตนเอง ดังนี้ย่อมถือได้ว่าบุคคลภายนอกทำแทนเจ้าของที่ดินฝ่ายหนึ่ง ทำในฐานะส่วนตัวเองฝ่ายหนึ่ง จึงย่อมเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาแล้ว เจ้าของที่ดินจะขอให้เพิกถอนสัญญาจำนองนั้นไม่ได้เพราะบุคคลภายนอกกระทำไปโดยสุจริต และนับว่าเป็นการประมาทเลินเล่อของเจ้าของที่ดินเองที่ลงนามในใบมอบฉันทะเปล่า ๆ เช่นนั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 112, ม. 420, ม. 397
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที