Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-30

มาตรา 394 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 394 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 394” คืออะไร? 


“มาตรา 394” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 394 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  ถ้าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นบุบสลายไปในส่วนสำคัญเพราะการกระทำหรือเพราะความผิดของบุคคลผู้มีสิทธิเลิกสัญญาก็ดี หรือบุคคลนั้นได้ทำให้การคืนทรัพย์กลายเป็นพ้นวิสัยก็ดี เปลี่ยนแปลงทรัพย์นั้นให้ผิดแผกไปเป็นอย่างอื่นด้วยประกอบขึ้นหรือดัดแปลงก็ดี ท่านว่าสิทธิเลิกสัญญานั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป
              แต่ถ้าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาได้สูญหายหรือบุบสลายไปโดยปราศจากการกระทำหรือความผิดของบุคคลผู้มีสิทธิเลิกสัญญาไซร้ สิทธิเลิกสัญญานั้นก็หาระงับสิ้นไปไม่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 394” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 394 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2540
การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดรถยนต์พิพาทเพราะสงสัยว่าจะเป็นรถยนต์ผิดกฎหมายมีสาเหตุมาจากสภาพรถยนต์พิพาทที่ถูกแก้ไขเลขประจำตัวถังรถเมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบในการที่รถยนต์พิพาทถูกยึดไปดังกล่าวและโจทก์ผู้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทไม่สามารถใช้หรือรับประโยชน์จากรถยนต์คันนั้นตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาได้จำเลยที่2ผู้ให้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่2จะมาโต้เถียงว่ารถยนต์พิพาทมิใช่รถยนต์ผิดกฎหมายแม้จะฟังได้เช่นนั้นก็หาทำให้ความรับผิดของจำเลยที่2ต่อโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่เพราะความเสียหายของโจทก์ที่ไม่ได้ประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่าซื้อตามสัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว สัญญาเช่าซื้อข้อ12ระบุว่าไม่ว่าโดยเหตุใดก็ตามถ้ารถยนต์เช่าซื้อถูกจับถูกยึดหรือถูกใช้สิทธิยึดหน่วงผู้เช่าซื้อต้องรีบแจ้งให้จำเลยที่2ผู้ให้เช่าซื้อทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน7วันนับแต่วันถูกจับถูกยึดหรือถูกใช้สิทธิยึดหน่วงและผู้เช่าซื้อต้องจัดการประการหนึ่งประการใดหรือจัดการชำระหนี้อันเป็นมูลให้ถูกยึดหน่วงแล้วแต่กรณีเพื่อให้ได้รถยนต์เช่าซื้อคืนมาโดยเร็วมิฉะนั้นบริษัทจะถือว่าโจทก์ผู้เช่าซื้อปฏิบัติผิดสัญญานี้การที่รถยนต์พิพาทถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไปก็เพราะมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นรถยนต์ผิดกฎหมายโดยมีการแก้ไขเลขประจำตัวถังรถซึ่งมิใช่การกระทำหรือเป็นความผิดของโจทก์ที่เป็นเพียงผู้เช่าซื้อการแสดงหลักฐานและประวัติของรถยนต์พิพาทว่ามิใช่รถยนต์ผิดกฎหมายย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าของกรรมสิทธิ์คือจำเลยที่2ผู้ให้เช่าซื้อทั้งโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาข้อ12โดยแจ้งให้จำเลยที่2ผู้ให้เช่าซื้อทราบถึงการที่รถยนต์ถูกยึดภายใน7วันนับจากวันถูกยึดแล้วถือได้ว่าโจทก์ได้ทำหน้าที่ผู้เช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 389, ม. 394, ม. 572


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2540
การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดรถยนต์พิพาทเพราะสงสัยว่าจะเป็นรถยนต์ผิดกฎหมายมีสาเหตุมาจากสภาพรถยนต์พิพาทที่ถูกแก้ไขเลขประจำตัวถังรถ เมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบในการที่รถยนต์พิพาทถูกยึดไปดังกล่าว และโจทก์ผู้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทไม่สามารถใช้หรือรับประโยชน์จากรถยนต์คันนั้นตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาได้จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จะมาโต้เถียงว่ารถยนต์พิพาทมิใช่รถยนต์ผิดกฎหมาย แม้จะฟังได้เช่นนั้นก็หาทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่ เพราะความเสียหายของโจทก์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่าซื้อตามสัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว

สัญญาเช่าซื้อข้อ 12 ระบุว่า ไม่ว่าโดยเหตุใดก็ตาม ถ้ารถยนต์เช่าซื้อถูกจับ ถูกยึดหรือถูกใช้สิทธิยึดหน่วง ผู้เช่าซื้อต้องรีบแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าซื้อทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 7 วัน นับแต่วันถูกจับ ถูกยึดหรือถูกใช้สิทธิยึดหน่วง และผู้เช่าซื้อต้องจัดการประการหนึ่งประการใด หรือจัดการชำระหนี้อันเป็นมูลให้ถูกยึดหน่วงแล้วแต่กรณีเพื่อให้ได้รถยนต์เช่าซื้อคืนมาโดยเร็ว มิฉะนั้นบริษัทจะถือว่าโจทก์ผู้เช่าซื้อปฏิบัติผิดสัญญานี้ การที่รถยนต์พิพาทถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไปก็เพราะมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นรถยนต์ผิดกฎหมาย โดยมีการแก้ไขเลขประจำตัวถังรถซึ่งมิใช่การกระทำหรือเป็นความผิดของโจทก์ที่เป็นเพียงผู้เช่าซื้อ การแสดงหลักฐานและประวัติของรถยนต์พิพาทว่ามิใช่รถยนต์ผิดกฎหมายย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าของกรรมสิทธิ์คือจำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าซื้อทั้งโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 12 โดยแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าซื้อทราบถึงการที่รถยนต์ถูกยึดภายใน 7 วัน นับจากวันถูกยึดแล้วถือได้ว่าโจทก์ได้ทำหน้าที่ผู้เช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 389, ม. 394, ม. 572


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2538
จำเลยได้มอบหมายให้ จ. เป็นผู้ดำเนินการทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยจำเลยลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญา ฉะนั้นจำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาจะซื้อขายไม่ผูกพันจำเลย เพราะไม่มีกรณีตั้งตัวแทนหรือยินยอมให้ผู้ได้เชิดตนเองกระทำการเป็นตัวแทนจำเลย และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องตัวแทนเชิดเป็นเรื่องนอกฟ้องนั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจากพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยได้มอบหมายให้ จ. และ ป. ภริยาเป็นผู้ติดต่อขายที่ดินของจำเลยแทนจำเลยและจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในสัญญาด้วยตนเอง ดังนี้ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องตัวแทนเชิดดังที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท ม. ปลูกสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก3 ชั้น ลงบนที่ดินดังกล่าวขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้ได้ให้ใช้ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยโอนสิ่งปลูกสร้างด้วย จึงไม่เกินคำขอ และโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท ม. ปลูกสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก3 ชั้น บนที่ดินพิพาท การก่อสร้างดังกล่าวย่อมทำให้ที่ดินพิพาทราคาสูงขึ้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับราคาที่ดินที่สูงขึ้นเพราะการก่อสร้างด้วยและราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ขอให้ชดใช้ย่อมหมายถึงราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในขณะฟ้อง ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดสำหรับค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่สูงขึ้นในขณะฟ้องตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง จึงไม่เป็นการนอกฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 222, ม. 394, ม. 797, ม. 823
ป.วิ.พ. ม. 142
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที